แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วัฒนธรรม แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วัฒนธรรม แสดงบทความทั้งหมด
มข.ชูสินทรัพย์วัฒนธรรมเป็นของดีภาคอีสาน
รศ.รังสรรค์ เนียมสนิท รองอธิการบดีฝ่ายแผนและสารสนเทศ และผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันยุทธศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดการสัมมนาวิชาการ “โครงการสำรวจ จัดทำ และเผยแพร่ฐานข้อมูลด้านนวัตกรรม และสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ที่โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด โดยการจัดกิจกรรมครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษา เรื่อง โครงการสำรวจ จัดทำ
และเผยแพร่ฐานข้อมูลด้านนวัตกรรม และสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม มอบหมายให้สถาบันยุทธศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มข. เป็นผู้ดำเนินการโครงการ ซึ่งมีทีมนักวิจัยประกอบด้วย ตน ในนามหัวหน้าโครงการฯ รศ.ดร.ลำปาง แม่นมาตย์ รองหัวหน้าโครงการ รศ.สุนีย์ เลี่ยวเพ็ญวงษ์ ผศ.ปราโมทย์ ครองยุทธ ผศ.ดร.ชลลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ ผศ.ธนสิทธิ์ จันทะรี อาจารย์ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ และ ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์
รศ.รังสรรค์ กล่าวด้วยว่า การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวม และจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดทำยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาสินค้า และบริการอันเกิดจากสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็ก ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของรัฐบาลกำหนดไว้ โดยพบสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม 5 ด้าน ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปลาร้าของจังหวัดมหาสารคาม ฮูปแต้ม (จิตกรรมฝาผนังในสิมของวัดภาคอีสาน) ของจังหวัดขอนแก่น ผ้าไหมแพรวาของจังหวัดกาฬสินธุ์ ข้าวหอมมะลิของจังหวัดร้อยเอ็ด ผีตาโขนของจังหวัดเลย ซึ่งแนวทางในการนำสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมเหล่านี้ มาพัฒนาในแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้น คนในชุมชนจะต้องรู้จักการอนุรักษ์ เห็นคุณค่า และนำมาเพิ่มมูลค่า ซึ่งคนในชุมชนต้องมีส่วนร่วม และจะต้องได้รับการสนับสนุน ทั้งด้านแหล่งเงินทุน รวมถึงองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ จากภาครัฐอย่างจริงจัง
และเผยแพร่ฐานข้อมูลด้านนวัตกรรม และสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม มอบหมายให้สถาบันยุทธศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มข. เป็นผู้ดำเนินการโครงการ ซึ่งมีทีมนักวิจัยประกอบด้วย ตน ในนามหัวหน้าโครงการฯ รศ.ดร.ลำปาง แม่นมาตย์ รองหัวหน้าโครงการ รศ.สุนีย์ เลี่ยวเพ็ญวงษ์ ผศ.ปราโมทย์ ครองยุทธ ผศ.ดร.ชลลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ ผศ.ธนสิทธิ์ จันทะรี อาจารย์ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ และ ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์
รศ.รังสรรค์ กล่าวด้วยว่า การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวม และจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดทำยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาสินค้า และบริการอันเกิดจากสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็ก ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของรัฐบาลกำหนดไว้ โดยพบสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม 5 ด้าน ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปลาร้าของจังหวัดมหาสารคาม ฮูปแต้ม (จิตกรรมฝาผนังในสิมของวัดภาคอีสาน) ของจังหวัดขอนแก่น ผ้าไหมแพรวาของจังหวัดกาฬสินธุ์ ข้าวหอมมะลิของจังหวัดร้อยเอ็ด ผีตาโขนของจังหวัดเลย ซึ่งแนวทางในการนำสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมเหล่านี้ มาพัฒนาในแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้น คนในชุมชนจะต้องรู้จักการอนุรักษ์ เห็นคุณค่า และนำมาเพิ่มมูลค่า ซึ่งคนในชุมชนต้องมีส่วนร่วม และจะต้องได้รับการสนับสนุน ทั้งด้านแหล่งเงินทุน รวมถึงองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ จากภาครัฐอย่างจริงจัง
ข่าว/ภาพ เดลินิวส์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
loading...
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)
loading...