แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วรรณคดีไทย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วรรณคดีไทย แสดงบทความทั้งหมด
รับตรง ผู้มีความสามารถพิเศษด้านวรรณคดีไทย ม.เกษตรศาสตร์
จำนวนที่รับเข้าศึกษา จำนวนรับ 20 คน
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1. สำเร็จการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าในชั้นปีสุดท้าย ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในภูมภาคต่างๆ ยกเว้นกรุงเทพฯและปริมณฑล
2. มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรวม 5 ภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.75
3. มีคะแนนเฉลี่ยสะสมวิชาภาษาไทยในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรวม 5 ภาคการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.00
4. มีความสนใจและความรู้ด้านวรรณคดีไทยเป็นพิเศษ
5. มีคุณสมบัติอื่นๆ ครบถ้วนตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ระเบียบการสอบคัดเลือก
1. สอบข้อเขียน 3 วิชา
- วิชาภาษาไทย (50 คะแนน)
- วิชาภาษาอังกฤษ (50 คะแนน
- วิชาเฉพาะทางวรรณคดีไทย (100 คะแนน)
2. สอบสัมภาษณ์
การสมัคร
รับสมัครตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม ถึง วันที่ 15 พฤศจิกายน 2553
..........................................
“ไตรภูมิพระร่วง”สุดยอดวรรณคดีไทย
กรรมการวรรณคดีแห่งชาติ แถลง “ไตรภูมิพระร่วง”สุดยอดวรรณคดีไทย
วันนี้ (24 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่กระทรวงวัฒนธรรม ศ.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ กรรมการวรรณคดีแห่งชาติ แถลงผลการดำเนินงานของคณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติ ว่า คณะกรรมการฯมีมติพิจารณาคัดสรรวรรณกรรมที่แต่งในสมัยสุโขทัย ซึ่งมีคุณค่าทางด้านเนื้อหาและความงดงามในเชิงวรรณศิลป์ ให้เป็นวรรณคดีของชาติ สมัยสุโขทัย จำนวน 5 เรื่อง ดังนี้ 1.จารึกหลักที่ 1 ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง 2.จารึกหลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม 3.จารึกหลักที่ 3 ศิลาจารึกนครชุม 4.สุภาษิตพระร่วง และ 5.ไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง
พร้อมกันนี้ยังมีมติประกาศยกย่องวรรณคดี เรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ให้เป็นยอดของวรรณคดีสมัยสุโขทัย เนื่องจาก เป็นวรรณคดีเก่าแก่ โดยพระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือ พระยาลิไท พระมหากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งกรุงสุโขทัย ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1888 หรือมีอายุ กว่า 600 ปี โดยมีเนื้อหามุ่งสอนศีลธรรม ให้ประชาชนยึดมั่นในคุณงามความดี เชื่อในเรื่องบาปกรรม และนรก สวรรค์ ซึ่งเป็นความเชื่อหยั่งรากลึกในสังคมไทยเป็นเวลานาน
พร้อมกันนี้ยังมีมติประกาศยกย่องวรรณคดี เรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ให้เป็นยอดของวรรณคดีสมัยสุโขทัย เนื่องจาก เป็นวรรณคดีเก่าแก่ โดยพระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือ พระยาลิไท พระมหากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งกรุงสุโขทัย ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1888 หรือมีอายุ กว่า 600 ปี โดยมีเนื้อหามุ่งสอนศีลธรรม ให้ประชาชนยึดมั่นในคุณงามความดี เชื่อในเรื่องบาปกรรม และนรก สวรรค์ ซึ่งเป็นความเชื่อหยั่งรากลึกในสังคมไทยเป็นเวลานาน
ข่าว/ภาพ เดลินิวส์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
loading...
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)
loading...