วาไรตี้
ประชาสัมพันธ์
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ รัชกาลที่ ๕ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ รัชกาลที่ ๕ แสดงบทความทั้งหมด

ภาพถ่ายในช่วง รัชกาลที่ ๔ - รัชกาลที่ ๕ (รูปเยอะมาก)




ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในพระราชพิธีลงสรงรับพระนามาภิไธย
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาด้านหน้าพระบรมมหาราชวัง (ตำหนักแพ ท่าราชวรดิษฐ์)
ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๙

พระราชพิธีในสมัยรัชกาลที่ ๕

ซุ้มกระทรวงกลาโหม ถ่ายเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๕๑

ซุ้มประตูช้างคู่ ถ่ายเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๕๐

วัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร / ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๙

ลานพระบรมรูปทรงม้า และ พระที่นั่งอนันตสมาคม กรุงเทพมหานคร / ถ่ายเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๖๓

วังวินด์เซอร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
เพื่อพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกแห่งกรุงสยาม
ตั้งอยู่กลางทุ่งพญาไท ตำบลประทุมวัน กรุงเทพมหานคร ถูกทุบเมื่อปี 2478 หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
เพื่อนำพื้นที่มาสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติ (ทั้งๆที่บริเวณรอบๆเป็นทุ่งนา) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสนามศุภชลาศัย

เขาไกรลาส วัดพระแก้ว กรุงเทพมหานคร / ถ่ายเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๐๗

สะพานผ่านพิภพลีลา เชื่อมระหว่างถนนราชดำเนินในและถนนราชดำเนินกลาง กรุงเทพมหานคร
ถ่ายเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๔๙

กระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร / ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๘

ทิวทัศน์แม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร / ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๕

ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร / ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๑

หอนาฬิกาหน้าหอคองคอเดีย (Clock Tower In front of Concordia Hall) กรุงเทพมหานคร / ถ่ายเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๑๒

โรงแรมโอเรียนเต็ล ถ่ายเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๓๐

สี่กั๊กพระยาศรี ถนนเจริญกรุง ตัดถนนเฟื่องนคร / ถ่ายเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๔๓

“สถานีรถไฟกรุงเทพ” เริ่มก่อสร้างเมื่อพ.ศ. ๒๔๕๓ (ปลายสมัยรัชกาลที่ ๕) 
และแล้วเสร็จเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)
เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๙

สี่กั๊กพระยาศรี

ราชทูตสยาม (Siamese embassy) ถ่าย ณ พระราชวังฟงแตนโบล (Palace of Fontainebleau) ฝรั่งเศส 
ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๔

โรงพิมพ์ไทยในอดีต

การถ่ายภาพในสมัยก่อน ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๘ 

คุณขนมต้ม อมาตยกุล ขณะกำลังเย็บผ้าที่พระที่นั่งวิมานเมฆ 

นายไปรษณีย์ พระนคร / ถ่ายเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๓๓

กรมแผนที่ทหาร กรุงเทพมหานคร / ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๘

ธนาคารแห่งอินโดจีน (Banque De L' Indo Chine) กรุงเทพมหานคร / ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓

ทางเข้าโรงภาพยนตร์พัฒนากร (สิริรามา) ถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร / ถ่ายเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๕๓

อู่ซ่อมรถ บางกอกด็อคกัมปะนี กรุงเทพมหานคร / ถ่ายเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๔๖

พระนครศรีอยุธยา ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓

จ.เพชรบุรี / ถ่ายเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๐๘

ห้องวิทยุโทรเลข เชียงใหม่ / ถ่ายเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๔๓


พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม

เครื่องสีข้าวแบบมือหมุน / ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๗

อุโมงค์ขุนตาน อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง และ อ.แม่ทา จ.ลำพูน เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐
ใช้เวลาสร้าง ๑๔ ปี เป็นการเจาะภูเขาหินจากสองด้านเข้าไปบรรจบกันตรงกลางภูเขา
ซึ่งต้องใช้การคำนวนอย่างแม่ยำเพื่อให้มาบรรจบตรงกันได้

รถม้า และรถราง บนถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร / ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗

ตัวจริงของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)พรหมรังสี วัดระฆังฯ ที่คนทั้งประเทศนับถือกราบไหว้
พระเครื่องที่เป็นรูปท่านสมัยนี้ราคาสูงมาก ท่านมีชีวิตอยู่ถึง ๕ รัชกาลครับ เกิดในช่วงรัชกาลที่ ๑ และมรณภาพในช่วงต้นรัชกาลที่ ๕ ภาพนี้ คาดว่าถ่ายในปลายรัชกาลที่ ๔ 

พระสมุทรเจดีย์หรือพระเจดีย์กลางน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ถ่ายในสมัยรัชกาลที่ ๕
สมัยนั้นที่ตั้งของพระเจดีย์ยังเป็นเกาะจริง ๆ ภายหลังพื้นดินรอบเกาะตื้นเขิน ตัวเกาะจึงเชื่อมติดกับฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาดังเห็นอยู่ในปัจจุบัน

"ประตูพฤฒิมาศ" เป็นประตูทางเข้าออก ของกำแพงเมืองอยู่ในย่านสำเพ็ง สมัยรัชกาลที่ ๕ ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่มียวดยานพาหนะแล่นผ่านเป็นจำนวนมาก และได้เปลี่ยนช่องประตูเป็น ๓ ช่อง และด้านบนแต่ละยอดจะมียอดแหลมประดิษฐ์ลวดลายสวยงาม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสะพานเฉลิมโลก ๕๕ ข้ามคลองแสนแสบ
(บริเวณประตูน้ำในปัจจุบัน)
เมื่อ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ เนื่องในงานพระราชพิธีมังคลาภิเษก รถพระที่นั่งตกแต่งเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงออกแบบถวาย 

ทะเบียนรถยนต์ในสมัยก่อน

ภาพถนนสาธร ในสมัยรัชกาลที่ ๕ 

ภาพพระบรมมหาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ ๕

ภาพมุมสูงของพระบรมมหาราชวัง และพื้นที่รอบๆ

ภาพของกองทัพสยาม ขณะปราบจีนฮ่อ (พ.ศ. ๒๔๑๘)

สถานีตำรวจภูธรอำเภอปาย จ.แม่ฮ่องสอน ในสมัยรัชกาลที่ ๕



ที่มา
http://pantip.com/topic/35741957 
Facebook Page 77PPP Album Nostalgia 1860-1910
เรียบเรียงโดย : http://www.soccersuck.com/boards/topic/1428082
loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...