แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ มรณะศึกษา แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ มรณะศึกษา แสดงบทความทั้งหมด
มรณะศึกษา (Death Education) สำหรับวัยรุ่น
นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาหลายโรงเรียนได้ชมวีดิทัศน์ที่แสดงถึงความยากลำบาก และความเจ็บปวดของแม่ที่คลอดลูกเนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ สื่อวีดิทัศน์ทำให้นักเรียนจำนวนหนึ่งต้องหลั่งน้ำตา และเมื่อกลับไปบ้านก็ไปกอดแม่และร้องให้ บอกว่า “รักแม่มาก” ผู้เป็นแม่ตกใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับลูก สอบถามได้ความว่า ลูกได้ดูวีดิทัศน์ที่โรงเรียนฉายให้ชมเพื่อระลึกถึงพระคุณแม่...
อิทธิพล ของสื่อวีดิทัศน์เรื่อง “การคลอด” หรือการเกิดของมนุษย์ สร้างได้อย่างดีสำหรับจุดประสงค์เพื่อให้กระทบความรู้สึกสำนึกในบุญคุณของ ผู้เป็นแม่ที่ให้กำเนิด และการเกิดเป็นธรรมชาติของมนุษย์อย่างหนึ่ง แต่การศึกษาเรื่องของ “ความตาย” ซึ่งเป็นธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งของมนุษย์นั้น สื่อสารมวลชนได้นำเสนอข่าว ภาพ เรื่องราวการตายของมนุษย์เกือบทุกวัน แต่คนจำนวนหนึ่งไม่รู้สึกกับ ความตาย ที่สื่อต่าง ๆ นำเสนอ กล่าวได้ว่า สื่อเหล่านั้นไม่สร้างให้เกิด “มรณะสติ” กับคนเหล่านั้นซึ่งส่วนมากแล้วจะอยู่ในวัยรุ่น ถ้าวัยรุ่นซาบซึ่งรู้สำนึกกับความตายแล้ว ความก้าวร้าว ความประมาทของวัยรุ่นที่นำไปสู่ความตายอาจลดลงได้
แต่การสอนเรื่อง ความตายด้วยสื่อต่าง ๆ นั้น อาจไม่ส่งผลกระทบกับความรู้สึกเนื่องจากยังให้ประสบการณ์ที่ไกลกับความเป็น จริงตามหลักการจัดประสบการณ์ในกรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale จึงอาจต้องนำโวหารของนิยายจีนที่ว่า “มิเห็นโลงศพ มิหลั่งน้ำตา” มาใช้กับการสอนเรื่องความตาย ให้กับวัยรุ่น โดยให้วัยรุ่นได้เข้าใกล้ประสบการณ์ของความตายมากขึ้น อาจเป็นการให้ได้ดูศพจริง ๆ ที่ตายเพราะความประมาทในการขับขี่รถจักรยานยนต์ หรือตายเพราะการทะเลาะวิวาทเป็นต้น เพื่อให้เกิดผลกระทบทางความรู้สึกที่รุนแรงกว่าการใช้สื่อ
ความหมายของมรณะศึกษา (Death Education)
มาตรา 15 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า “สภาพของบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดเมื่อ ตาย...” การตายจึงเป็นการสิ้นสุดสภาพของบุคคลซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นกับมนุษย์ ทุกคน เมื่อมีการเกิดกฎหมายรับรองให้มีสภาพเป็นบุคคล และเมื่อตายกฎหมายให้พ้นสภาพบุคคล การตายจึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคน
"มรณะศึกษา" หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับความตาย เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายและการให้ประสบการณ์ที่ เกี่ยวข้องกับการตาย รวมทั้งเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายและทัศนคติต่อความตาย กระบวนการตาย การเสียไป และการดูแลผลกระทบจากคนตาย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดความวิตกกังวลอันเกี่ยวกับความตายที่จะต้อง เกิดขึ้นกับมนุษย์ นอกจากนั้นยังมีอีกสองเหตุผลในการให้การศึกษาเรื่องของความตาย
ประการ แรก เป็นการเตรียมการล่วงหน้าให้กับผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับความตาย ทั้งในเชิงของความเชื่อ พิธีกรรมทางศาสนา สังคม และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตาย
ประการที่สอง ทำให้ประชาชนทั่วไปมีพื้นฐานความรู้ และภูมิปัญญาพัฒนาตนเองสำหรับการตาย หรือมี "มรณะสติ" เป็นแนวทางสำหรับการดำเนินชีวิต
จุดมุ่งหมายของ การ ศึกษาจึงครอบคลุมถึงการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของตนเอง และผู้อื่นและเพื่อช่วยในการสร้างและรักษาสภาพหรือขยายความรู้ใหม่ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรม การจัดการศึกษาจะแตกต่างกันไปตามกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ โดยมีรูปแบบ ระยะเวลา ความเข้มข้น และลักษณะกิจกรรมของผู้เข้าร่วม อาจจะเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ การศึกษานอกระบบโรงเรียนมีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาเรื่องของความตายมาก โครงสร้างหลักสูตร และประสบการณ์ทางคลินิก สามารถจัดเป็นหลักสูตร โมดูลหรือหน่วยการสอนอย่างเป็นอิสระหรือรวมอยู่ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของ หลักสูตรระดับอุดมศึกษา หรือสามารถจัดการเรียนการสอนในระดับโรงเรียนประถมหรือมัธยมศึกษาก็ได้ และอาจจะพัฒนาการเรียนการสอนไปถึงระดับการฝึกอาชีพสำหรับงานที่เกี่ยวข้อง กับการตายและพิธีศพ
จุดเริ่มต้นของหลักสูตรมรณะศึกษาพัฒนาโดย Robert Kastenbaum ที่ Clark University, Robert Fulton ที่ University of Minnesota, Dan Leviton ที่ University of Marryland และ James Carse ที่ Yale University คนเหล่านี้เป็นคนกลุ่มแรก ๆ ในจำนวนหลายคนที่สนใจมรณะศึกษา ในปี 1969 Fulton จัดตั้งศูนย์การศึกษาความตาย (Center for Death Education) ปัจจุบันใช้ชื่อว่า Death Education and Bioethics at the University of Wisconsin, La Crosse ในปี 1970 Kastenbaum ก่อตั้งวารส่าร Omega: The Journal of Death and Dying ซึ่งเป็นวารสารเล่มแรกในสาขาวิชามรณะศึกษา ในปีเดียวกันมีการประชุมครั้งแรกทางด้านมรณะศึกษา ที่ Hamline University in St.Paul, Minnesota ในปี 1977 Hannelore Wass ได้ก่อตั้งวารสาร Death Education (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Death Studies)
การศึกษาเรื่องของ ความตาย ( Thanatology) ได้กลายเป็นสหสาขาวิชาชีพที่ซับซ้อน มีการวิจัย ทุนการศึกษาและการปฏิบัติในการจัดการศึกษาที่หลากหลายและมีจำนวนมาก และเนื่องจากการตายเป็นเรื่องส่วนบุคคล และการเข้าใกล้ชิดกับความตายเป็นความท้าทายและต้องมีสมรรถนะที่เข้มแข็ง ผู้จะสอนวิชานี้จึงต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างดี ในสหรัฐอเมริกามีการพัฒนาสมรรถนะของครูที่สอนมรณะศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว แต่สำหรับประเทศไทยสมรรถนะของครูที่จะสอนวิชานี้จึงต้องได้รับการพัฒนาอย่าง มากเช่นกัน
ประโยชน์ของมรณะศึกษาสำหรับวัยรุ่น
การ ศึกษาเชิงประจักษ์ในต่างประเทศจำนวนมากได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบรรลุ วัตถุประสงค์ของมรณะศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่จะทำกับนักศึกษาระดับวิทยาลัยซึ่งอยู่ในช่วงของวัยรุ่น โดยมีการจัดหลักสูตรระหว่างภาคการศึกษามีผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์เข้าร่วม สอนด้วย มีการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นและวัดผลการบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ การคิด การเปลี่ยนแปลงเจตคติ ที่เกี่ยวข้องกับการตายและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของการตาย ชี้ให้เห็นว่า “มรณะศึกษา” ส่งผลต่อเจตคติและพฤติกรรมของผู้เรียนในการลดความก้าวร้าว ความรุนแรง และความประมาทอันนำมาสู่ความตายได้
“มรณะศึกษา” สำหรับวัยรุ่นในประเทศไทยยังไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นทางการ ยังไม่มีการจัดหลักสูตรและการสอนอย่างเป็นระบบ แหล่งศึกษาเรื่องความตายถูกจำกัดให้สำหรับผู้สนใจโดยเฉพาะ หรือวิชาชีพเฉพาะ การศึกษาเรื่องของความตายนั้นต้องมีการจำแนกกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจนและ กำหนดจุดประสงค์สำหรับแต่ละกลุ่ม สำหรับวัยรุ่นต้องมีการกำหนดจุดมุ่งหมายและวิธีการสอนแตกต่างจากวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ หรือวัยชรา ถ้ามีการนำมรณะศึกษาเข้ามาจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาให้กับผู้เรียนที่ อยู่ในวัยรุ่น ควรกำหนดจุดมุ่งหมายให้เกิดความเกรงกลัวต่ออันตรายที่นำไปสู่ความตายก่อนวัย อันควร และใช้วิธีการสอนที่ใกล้กับประสบการณ์จริงมากที่สุด โดยใช้หลักการจากโวหารนิยายจีนที่ว่า “มิเห็นโลงศพ มิหลั่งน้ำตา” ซึ่งหมายถึงการให้ผู้เรียนได้อยู่ในประสบการณ์จริงของความตายมากที่สุด มิใช่แค่เห็นโลงศพตามโวหารเท่านั้น แต่อาจต้องได้สัมผัสไกล้ชิดกับความตายด้วยผู้สอนวิชานี้ต้องได้รับการฝึก อบรมอย่างดี สามารถสร้างคุณลักษณะทางด้านเจตคติ (Affective Domain) ของความตายให้กับผู้เรียนได้ และเชื่อว่าประโยชน์ของ “มรณะศึกษา” จะสามารถลดความก้าวร้าว การทะเลาะวิวาท ความประมาท และอัตราการตายก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นได้อย่างมาก
ข้อเสนอสำหรับการจัดการเรียนการสอน “มรณะศึกษา”
คน ไทยส่วนมากเป็นชาวพุทธ โรงเรียนจำนวนมากตั้งอยู่ในวัด โรงเรียนกับวัดของไทยนั้นอยู่ควบคู่และพึ่งพากันมาช้านาน ในอดีตพระเป็นผู้รู้ธรรม เพราะบวชเรียนพระธรรมวินัยและภาษาบาลีอันเป็นช่องทางของการศึกษาพระไตรปิฎก ได้อย่างแตกฉาน จัดเป็นผู้รู้แจ้งทางธรรม และโรงเรียนมีครูที่เป็นผู้รู้ทางโลก การถ่ายทอดความรู้จึงเกิดความร่วมมือกันได้อย่างง่าย ประกอบกับความซับซ้อนในสังคมและการจัดระบบการบริหารการศึกษายังไม่ซับซ้อน มาก แต่ในระยะต่อมาพระในวัดส่วนหนึ่งขาดโอกาสศึกษาหลักธรรมคำสอนทางศาสนา ประกอบกับพัฒนาการทางด้านการศึกษาและคุณวุฒิของครูในโรงเรียนก้าวหน้า มากกว่าทางด้านของพระในวัด โรงเรียนกับวัดจึงไม่ค่อยจะร่วมมือกันได้ในทางวิชาการ แต่ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นจัดการศึกษาให้กับพระและมีพระจบการ ศึกษาจำนวนมากสามารถเป็นผู้เผยแผ่ธรรมะหรือศาสนาได้อย่างดีจนเป็นที่ ประจักษ์ว่ามีพระหลายรูปในปัจจุบันที่สามารถเผยแผ่พุทธศาสนาและสามารถสอน เรื่องของความตายได้อย่างดีมาก
การพัฒนาการเรียนการสอนด้าน “มรณะศึกษา” นั้นต้องเริ่มจากการพัฒนาครูผู้ที่มีสมรรถนะในการสอนวิชานี้เสียก่อน แล้วจึงเปิดการเรียนการสอนในระดับโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย สำหรับมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่มีกลุ่มผู้เรียนเป็นพระหรือเณร ควรเปิดหลักสูตรผลิตครูผู้สอน “มรณะศึกษา” ให้ได้ครูที่มีสมรรถนะทางด้านการสอนวิชามรณะศึกษาอย่างดี โดยที่มหาวิทยาลัยเหล่านี้มีองค์ความรู้พื้นฐานทางด้านศาสนาและปรัชญาที่ เกี่ยวข้องกับความตายอยู่แล้ว รากฐานสำคัญขององค์ความรู้ทางด้านนี้สามารถนำมาสร้างเป็นหลักสูตรผลิตครูผู้ สอนวิชา "มรณะศึกษา" ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นความรู้ทางด้าน "มรณะศึกษา" ยังสามารถพัฒนาขยายขอบข่ายเป็นการสร้างอาชีพที่ทำงานด้านที่เกี่ยวข้องกับ ความตายทั้งหมดได้อีกด้วย รายวิชาที่เปิดสอนในสาขาวิชานี้จะมีเนื้อหาที่ครอบคลุมเรื่องราวของการสิ้น สภาพบุคคลทั้งหลายทั้งปวง ทั้งในมิติทางสังคม กฎหมาย และจิตวิญญาณ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สังคม และส่วนบุคคลด้วยอย่างมาก
รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
ข่าว/ภาพ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
loading...
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)
loading...