แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ภูเขียว แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ภูเขียว แสดงบทความทั้งหมด
นศ.มข.วางผัง-ออกแบบหอบังไพร ที่ภูเขียว
รศ.รวี หาญเผชิญ นำนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในวิชาภูมิสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 56 คน เข้าศึกษานิเวศภูมิทัศน์ บริเวณสถานีฝึก และทดลองเกษตร หอดูดาว รวมถึงที่เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการออกแบบ และวางผังบริเวณ เพื่อการปรับปรุงภูมิทัศน์ และการใช้ประโยชน์พื้นที่ดังกล่าว โดยนักศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ศักยภาพ และข้อจำกัดของพื้นที่ รวมถึงวิเคราะห์ผู้ที่ใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางให้สามารถนำข้อมูลจาการวิเคราะห์ของนักศึกษาไปใช้ในการพัฒนา พื้นที่อย่างเหมาะสม และยั่งยืนต่อไป
หลังจากนั้น คณะอาจารย์ และนักศึกษาได้เข้าศึกษาธรรมชาติ และออกแบบหอบังไพร ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ ซึ่งเป็นเขตรักษาพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความหลากหลายทางด้านสายพันธุ์ของพืช และสัตว์ แถมยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหายากหลายชนิด รวมทั้งเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย และของโลก
จากการสำรวจพบว่า หอพังไพร และโครงสร้างบางส่วนนั้น อยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม และขาดความกลมกลืนกับสภาพธรรมชาติ นักศึกษาจึงได้ทำการออกแบบ หอบังไพร (Bird bind) และ Board walk ในบริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยนักศึกษาได้บูรณาการความรู้ด้านภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรม นิเวศวิทยา และพฤติกรรมของผู้ใช้ ภายใต้คำแนะนำจากจากอาจารย์ผู้สอน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยท้ายที่สุดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวจะได้นำผลงานการออกแบบของนัก ศึกษาไปใช้จริงในการปรับปรุงเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ในปีงบประมาณ 2554
กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ดังกล่าว เป็นหนึ่งในปรัชญาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการผลิตบัณฑิตด้านการบูรณาการการเรียนการสอนสู่สังคม พร้อม ๆ กับการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีจริยธรรม มีจิตอาสา และยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น และหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ เพื่อให้เกิดการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ ต่อไป.
ข่าว/ภาพ เดลินิวส์
หลังจากนั้น คณะอาจารย์ และนักศึกษาได้เข้าศึกษาธรรมชาติ และออกแบบหอบังไพร ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ ซึ่งเป็นเขตรักษาพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความหลากหลายทางด้านสายพันธุ์ของพืช และสัตว์ แถมยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหายากหลายชนิด รวมทั้งเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย และของโลก
จากการสำรวจพบว่า หอพังไพร และโครงสร้างบางส่วนนั้น อยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรม และขาดความกลมกลืนกับสภาพธรรมชาติ นักศึกษาจึงได้ทำการออกแบบ หอบังไพร (Bird bind) และ Board walk ในบริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยนักศึกษาได้บูรณาการความรู้ด้านภูมิสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรม นิเวศวิทยา และพฤติกรรมของผู้ใช้ ภายใต้คำแนะนำจากจากอาจารย์ผู้สอน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยท้ายที่สุดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวจะได้นำผลงานการออกแบบของนัก ศึกษาไปใช้จริงในการปรับปรุงเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ในปีงบประมาณ 2554
กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ดังกล่าว เป็นหนึ่งในปรัชญาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการผลิตบัณฑิตด้านการบูรณาการการเรียนการสอนสู่สังคม พร้อม ๆ กับการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีจริยธรรม มีจิตอาสา และยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น และหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ เพื่อให้เกิดการพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ ต่อไป.
ข่าว/ภาพ เดลินิวส์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
loading...
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)
loading...