แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ป.บัณฑิต แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ป.บัณฑิต แสดงบทความทั้งหมด
น่าเสียดายหลักสูตร ป.บัณฑิต
เลิกรับรองแก้ปัญหาไม่ตรงจุด
ดร.วิพรรธ์ เริงพิทยา อธิการบดีมหาวิทยาลัยเอเชียน กล่าวถึงกรณีที่คุรุสภายกเลิกการรับรองหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพ ครู หรือ ป.บัณฑิตว่า ตนรู้สึกเสียดายเพราะเห็นว่าหลักสูตรดังกล่าวควรมีอยู่ เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้เราได้คนเก่งและมีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เข้ามาเป็นครู เพราะลำพังเด็กที่จบครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์โดยตรง ตนเห็นว่าถึงแม้จะมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอน แต่ความรู้เฉพาะทางคงสู้เด็กที่จบสาขาวิชานั้น ๆ โดยตรงไม่ได้ โดยเฉพาะในสาขาวิชาขาดแคลนที่เป็นความต้องการของประเทศ
ดร.วิพรรธ์ กล่าวต่อไปว่า การใช้หลักสูตร 4+1 ตนเห็นว่าดีแล้ว โดยรับผู้ที่จบเฉพาะทางมาเรียนวิชาครูเพิ่มอีก 1 ปี เพราะการจะเป็นครูที่ดีต้องมีแก่นความรู้ที่เข้มแข็งก่อน แต่หากคุรุสภาเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรป.บัณฑิตของสถาบันใดเป็น ปัญหาก็ควรให้มีการปรับปรุงแก้ไขที่วิธีการจัดการเรียนการสอน ไม่ใช่ยกเลิกการรับรองทั้งหมด เพราะเรายังต้องการดึงคนเก่งเข้ามาเป็นครู ไม่เช่นนั้นเราก็จะสู้ชาติอื่น ๆ ไม่ได้
“ผมเห็นว่าเราควรแก้ปัญหาในจุดที่เป็นปัญหา เหมือนเราทำร้านอาหาร หากแม่ครัวทำอาหารไม่อร่อย เราก็แก้ไขที่แม่ครัว ไม่ใช่ปิดร้านไปเลย ซึ่งการเป็นครูไม่ได้เหมือนคนเป็นหมอที่ฉีดยาให้คนไข้ตายได้” อธิการบดีม.เอเชียน กล่าว
ต่อข้อถามถึงนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (HUB) ทางการศึกษาของภูมิภาค ดร.วิพรรธ์ กล่าวว่า นักการเมืองก็ต้องพูดไป แต่คงยังไม่ได้คิดในรายละเอียด เช่น เรามีสถาบันการศึกษานานาชาติจำนวนเท่าใด มาตรฐานการศึกษาเป็นที่ยอมรับของโลกหรือไม่ หลักสูตรเป็นอย่างไร และที่สำคัญเรามีครูเพียงพอหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามตนก็พร้อมสนับสนุนการไปสู่เป้าหมายดังกล่าว โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้แก่ครูอาจารย์ของไทยซึ่งส่วนใหญ่ยังมี ทักษะไม่เพียงพอ โดยทางมหาวิทยาลัยเอเชียนมีศักยภาพสามารถจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้ได้ ทั้งนี้ตนเห็นว่าการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาให้แก่ครูอาจารย์เป็นเรื่องเร่ง ด่วนที่กระทรวงศึกษาธิการควรให้ความสำคัญก่อนที่เราจะเข้าร่วมประชาคมอา เซียนในปี 2558.
ข่าว เดลินิวส์
ภาพ lookatgame.com
ดร.วิพรรธ์ เริงพิทยา อธิการบดีมหาวิทยาลัยเอเชียน กล่าวถึงกรณีที่คุรุสภายกเลิกการรับรองหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพ ครู หรือ ป.บัณฑิตว่า ตนรู้สึกเสียดายเพราะเห็นว่าหลักสูตรดังกล่าวควรมีอยู่ เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้เราได้คนเก่งและมีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เข้ามาเป็นครู เพราะลำพังเด็กที่จบครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์โดยตรง ตนเห็นว่าถึงแม้จะมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอน แต่ความรู้เฉพาะทางคงสู้เด็กที่จบสาขาวิชานั้น ๆ โดยตรงไม่ได้ โดยเฉพาะในสาขาวิชาขาดแคลนที่เป็นความต้องการของประเทศ
ดร.วิพรรธ์ กล่าวต่อไปว่า การใช้หลักสูตร 4+1 ตนเห็นว่าดีแล้ว โดยรับผู้ที่จบเฉพาะทางมาเรียนวิชาครูเพิ่มอีก 1 ปี เพราะการจะเป็นครูที่ดีต้องมีแก่นความรู้ที่เข้มแข็งก่อน แต่หากคุรุสภาเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรป.บัณฑิตของสถาบันใดเป็น ปัญหาก็ควรให้มีการปรับปรุงแก้ไขที่วิธีการจัดการเรียนการสอน ไม่ใช่ยกเลิกการรับรองทั้งหมด เพราะเรายังต้องการดึงคนเก่งเข้ามาเป็นครู ไม่เช่นนั้นเราก็จะสู้ชาติอื่น ๆ ไม่ได้
“ผมเห็นว่าเราควรแก้ปัญหาในจุดที่เป็นปัญหา เหมือนเราทำร้านอาหาร หากแม่ครัวทำอาหารไม่อร่อย เราก็แก้ไขที่แม่ครัว ไม่ใช่ปิดร้านไปเลย ซึ่งการเป็นครูไม่ได้เหมือนคนเป็นหมอที่ฉีดยาให้คนไข้ตายได้” อธิการบดีม.เอเชียน กล่าว
ต่อข้อถามถึงนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (HUB) ทางการศึกษาของภูมิภาค ดร.วิพรรธ์ กล่าวว่า นักการเมืองก็ต้องพูดไป แต่คงยังไม่ได้คิดในรายละเอียด เช่น เรามีสถาบันการศึกษานานาชาติจำนวนเท่าใด มาตรฐานการศึกษาเป็นที่ยอมรับของโลกหรือไม่ หลักสูตรเป็นอย่างไร และที่สำคัญเรามีครูเพียงพอหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามตนก็พร้อมสนับสนุนการไปสู่เป้าหมายดังกล่าว โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้แก่ครูอาจารย์ของไทยซึ่งส่วนใหญ่ยังมี ทักษะไม่เพียงพอ โดยทางมหาวิทยาลัยเอเชียนมีศักยภาพสามารถจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้ได้ ทั้งนี้ตนเห็นว่าการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาให้แก่ครูอาจารย์เป็นเรื่องเร่ง ด่วนที่กระทรวงศึกษาธิการควรให้ความสำคัญก่อนที่เราจะเข้าร่วมประชาคมอา เซียนในปี 2558.
ข่าว เดลินิวส์
ภาพ lookatgame.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
loading...
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)
loading...