นักวิจัยมาเองยันเรียนวิทยาศาสตร์ก็รวยได้
ในแวดวงวิทยาศาสตร์แม้หลายคนพอใจทำงานด้านนี้ แต่ก็มีเสียงบ่นดังๆ อยู่บ่อยครั้งว่า ค่าตอบแทนในอาชีพนี้ช่างแสนต่ำ และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กเก่งๆ ไม่เลือกเรียนด้านนี้
ทว่าสำหรับ รศ.ดร.จิตต์ลัดดา ศักดาภิพาณิชย์ จากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้มีผลงานวิจัยเด่นๆ หลายผลงาน อาทิ ถ่านจากเปลือกแมคคาเดเมีย งานวิจัยผลิตยางธรรมชาติให้มีโปรตีนน้อยลงซึ่งช่วยป้องอาการแพ้ ยางสำหรับผลิตหมากฝรั่งที่ได้จากน้ำเสียในโรงงานน้ำยาง เป็นต้น กล่าวว่าการเรียนวิทยาศาสตร์นั้นก็มีโอกาสที่จะร่ำรวยได้
รศ.ดร.จิตต์ลัดดาเปิดเผยว่า มีความสนใจในงานวิจัยด้านยางตั้งแต่อายุ 15 ขณะเรียนอยู่ชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล โดยสนใจทั้งโครงสร้างยางและสงสัยว่าทำไมยางจึงมีคุณสมบัติอย่างที่เป็น และจากการศึกษาเรื่อยมานั้นได้เกิดงานวิจัยด้านยางมากมาย
ตัวอย่างงานวิจัยเช่น น้ำยางที่มีโปรตีนน้อยลงซึ่งช่วยแก้ปัญหาการกีดกันการนำเข้าของสหรัฐฯ ที่อ้างว่าน้ำยางดิบของไทยมีโปรตีนเกินกำหนดและเป็นต้นเหตุของอาการแพ้
น้ำยางธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการทำให้มีโปรตีนน้อยลงนี้ นำไปประยุกต์ใช้ได้เหมือนยางสังเคราะห์ เมื่อนำไปขึ้นรูปเป็นถุงยางอนามัยจะมีความเป็นระเบียบมากกว่ายางธรรมชาติทั่วไป โดยพื้นผิวของยางจะติดกันหมดทำให้ไวรัสไม่สามารถผ่านไปได้ จึงช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ดี
อีกตัวอย่างคืองานวิจัยน้ำเสียจากน้ำยาง ซึ่งช่วยลดกลิ่นเหม็นลงได้ และยังได้ยางที่มีความเหนียว แม้ยืดหยุ่นไม่ดี โดยสิ่งที่ทำเงินได้จากงานวิจัยนี้คือนำไปใช้เป็นกาวติดแผล ซึ่งเมื่อเป็นวัสดุทางการแพทย์แล้วจะมีมูลค่าสุงขึ้นมาก อีกทั้งยางนี้ยังมีคุณสมบัติเหมาะที่จะผลิตเป็นหมากฝรั่งด้วย และจากงานวิจัยนี้ได้มีความร่วมมือกับบริษัทเอกชนที่ผลิตหมากฝรั่งแล้ว
นอกจากนี้ ในน้ำเสียที่เหลือของน้ำยางยังพบสารสกัดที่ใช้เป็นสารตั้งต้นผลิตสารป้องกันมะเร็งและอัลไซเมอร์ด้วย โดยมูลค่าน้ำยางอยู่ที่กิโลกรัมละ 1 บาท แต่สารสกัดดังกล่าว 1 กรัมมีมูลค่า 350 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 12,250 บาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ รศ.ดร.จิตต์ลัดดาชี้ให้เห็นว่างานวิจัยทำเงินได้อย่างไร
สำหรับงานวิจัยนั้น ทำให้เกิดสิทธิบัตรซึ่งทำเงินได้อย่างไรนั้น รศ.ดร.จิตต์ลัดดาแจกแจงให้ฟังว่า อันดับแรกคือการขายสิทธิในการใช้สิทธิบัตร จากนั้นเมื่อผู้ประกอบการนำไปสร้างรายได้ นักวิจัยก็จะได้ส่วนแบ่งจากการขายสินค้าที่เกิดจากงานวิจัย ส่วนเธอมีรายได้ที่เกิดจากการวิจัยเท่าไหร่แล้วนั้น ไม่ขอเปิดเผยกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์
ด้าน ศ.ดร.อมเรศ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการหน่วยพัฒนาธุรกิจและที่ปรึกษาคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ผลลัพธ์ของงานวิจัยคือองค์ความรู้ที่ได้รับการตีพิมพ์ ส่วนการขายของได้ หรือจะราย-ไม่รวยนั้นเป็นผลพลอยได้ที่เกิดจากการต่อยอดองค์ความรู้ ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยมีกลไกช่วยเหลือสำหรับนักวิจัยที่มีผลงานอยู่แล้ว.
...................................................................................................................................................
ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ที่ได้ทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ
เขาจะเริ่มจากการเรียนวิศวะก่อนเป็นพื้นฐาน
ต่อไปก็เจาะเป็นวิชาที่ทางต้นสังกัดส่งไปในระดับปริญญาโทและเอก
มีสาขาทางด้านวิทย์ ให้เรียนมากมายเช่น biomedical
engineering ถ้าเรียนวิชาที่ทันสมัยมาก ๆ กลับมาก็ทำ
อะไรไม่ค่อยได้เพราะประเทศเราเล็กงบประมาณน้อย
ถ้ามีทุนมาก ๆ นักวิทย์ก็คงไม่ถูกกระแนะกระแหนแบบนี้
แต่ว่าทุกอย่างเริ่มจากพื้นฐานทางวิทย์ทั้งนั้นคนเรียนวิทย์ไม่ได้หมายความว่าไม่เก่ง
และเก่งมากด้วยก็มี และบางคนก็อยู่อย่างพอเพียงไม่ได้สนใจเรื่องหน้าตาหรือดูถูกใคร แต่ขอให้รู้ว่าเครื่อง
มือที่ทันสมัย หรือยารักษาโรคใหม่ ๆ มาจากนักวิทยาศาสตร์ทั้งนั้น
...................................................................................................................................................
คนจบป.4 มาเอง ยันขายส้มตำก็รวยได้
...................................................................................................................................................
ถ้าหวังรวยไปทำอย่างอื่นดีกว่าครับ
เพราะสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทำ
คือปิดทองหลังพระ
คอยผลิตเทคโนโลยี ความรู้ใหม่ๆช่วยคน
เช่น ถ้าไม่มีนักวิทย์คิดยารักษาเอดส์ หมอกด็หายาไม่ได้
ถ้าไม่มีคนคิดตัวนำ ลวดไฟฟ้า วงจร
วิศวะก็ไม่มีทางสร้าง mri ได้
สรุปทุกฝ่ายต้องร่วมกัน
แต่ที่วิศวะ หมอรวยกว่า
เพราะเขานำงานไปประยุกต์ทางอุตสาหกรรม ธุรกิจ
ส่วนผู้บริหารรวยกว่า
เพราะการเสนอหน้า การเข้าสังคม เจรจา
นักวิทย์ต้องรวมตัวกัน เป็นกลุ่ม แล้วไปด้วยกัน
ไม่ใช่มาต่างคนต่างทำ งบก็ขอได้น้อย ชื่อเสียงก็ไม่มี
เลิกได้แล้วความเห็นแก่ตัว ขี้อิจฉา
ตอนนี้โลกไปถึงไหนแล้ว
.....................................................................................................................................................
ขอขอบคุณบทความจากและcoment จาก manager.co.th
นิยม
บทความ
-
►
2017
(43)
- ► กุมภาพันธ์ (7)
-
►
2016
(362)
- ► กุมภาพันธ์ (13)
-
►
2015
(77)
- ► กุมภาพันธ์ (6)
-
►
2014
(192)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2013
(57)
- ► กุมภาพันธ์ (5)
-
►
2012
(194)
- ► กุมภาพันธ์ (2)
-
►
2011
(272)
- ► กุมภาพันธ์ (43)
-
►
2010
(873)
- ► กุมภาพันธ์ (60)