วาไรตี้
ประชาสัมพันธ์
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ คณะบริหารธุรกิจ มทร.ธัญบุรี แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ คณะบริหารธุรกิจ มทร.ธัญบุรี แสดงบทความทั้งหมด

คณะบริหารธุรกิจ มทร.ธัญบุรี

คณะบริหารธุรกิจ มทร.ธัญบุรี
ร่วมสนับสนุน โครงการ “หยุด” ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี


“400 ไปรษณียบัตร ในกล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีชมพู เขียนความคิดเห็นที่แสดงถึง “ไม่อยากเห็นความรุนแรงเกิดขึ้นกับผู้หญิงและเด็ก” ซึ่งเขียนโดยนักศึกษา เจ้าหน้าที่ คณาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ภายในโครงการ “หยุด” ทางคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เล่งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง ไทยทีวีสีช่อง 3 จัดขึ้น คณบดีคณะบริหารธุรกิจ รศ.ดร.ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร กล่าวว่า เนื่องจากสภาพปัญหาของสังคมไทยมีปัญหาความรุนแรงเกิดขึ้นกับผู้หญิงและเด็ก คณะบริหารธุรกิจ นักศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง ซึ่งไม่อยากให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น และเดือนพฤศจิกายนเป็นเดือนแห่ง “การยุติความรุนแรง”

ทางคณะต้องการที่จะรณรงค์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อเด็กและสตรี ให้นักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยได้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมกับรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง ปลูกจิตสำนึกของนักศึกษาในการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างระมัดระวังมีสติมากขึ้น เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น

น้ำ” นายพงศ์ภัทร รอดอารี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 นายกสโมสรนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ เล่าว่า โครงการดังกล่าวมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการทุกระดับชั้น ทุกสาขาวิชา มีประมาณ 300 คน สำหรับตัวกิจกรรมประกอบด้วย 1. การเขียนไปรษณียบัตรแสดงความคิดเห็น 2. การแสดงร้องลิเกเพื่อยุติความรุนแรง 3. เดินรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ภายในมหาวิทยาลัยและโดยบริเวณมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ในบริเวณมหาวิทยาลัย “การเดินรณรงค์เป็นการกระตุ้นให้ความรู้แบบหนึ่งที่สร้างความสนใจให้กับผู้ที่ได้พบเห็น นักศึกษาจะเป็นสื่อกลางที่ดี ในการช่วยรณรงค์ยุติความรุนแรง”

ปิง” นายศักดิ์ดา อาทิตย์มณีรัตน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน เล่าว่า โครงการที่จัดขึ้น ถือว่าเป็นโครงการที่ดี ซึ่งตนเองเป็นอีกหนึ่งคน ที่เมื่อได้ดูข่าวตามหนังสือพิมพ์แล้วรู้สึกไม่ดีที่มีข่าวทำร้ายร่างกายผู้หญิงและเด็ก ซึ่งเป็นเพศแม่ที่ควรให้เกียรติ “การใช้กำลังความคิดในการแก้ปัญหา ไม่ใช้กำลังทางร่างกายในการตัดสินปัญหาที่เกิดขึ้น” ทุกคนมีความคิดมีวุฒิภาวะ ก่อนที่จะทำอะไรลงไปควรที่จะคิดก่อนว่าสร้างความเดือดร้อน หรือว่าผลส่งผลเสียอย่างไรกับคนที่ถูกกระทำ

แป้ง” น.ส. สาวิตรี แซ่ตัน นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ เล่าว่า ในฐานะที่เป็นผู้หญิง ดีใจที่องค์กรหรือว่าหน่วยงานต่างๆ เห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงและเด็ก สมัยนี้ผู้หญิงสามารถทำอะไรหลายๆอย่างได้เหมือนกับผู้ชาย ความเท่าเทียมกันของเพศหญิงและเพศชาย เพศชายเป็นเพศที่แข็งแรงกว่าเพศหญิง ก็ไม่ควรที่จะเอารัดเอาเปรียบ แต่ผู้หญิงถึงแม้ว่าจะเป็นผู้หญิง ก็ควรแสดงกิริยาท่าทางที่เหมาะสม “การแต่งกายก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาอย่างหนึ่ง ดังนั้นผู้หญิงควรที่จะแต่งกายมิดชิด ถูกกาละเทศะ”

เช่นเดียวกับ 3 หนุ่ม “ตั้ม” นายอนาวิล วงศกรพัชร “หว้า” นายเมธา จันทร์แดง “ป่อ” นายอัฏฐพร เผงสวัสดิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ เล่าว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กและสตรี มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ อยากที่จะให้ทางรัฐบาลมีมาตราการที่เคร่งครัด หรือว่ากฏหมาย

“หยุด” โครงการกระตุ้นคนในสังคมให้ยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กและสตรี นอกจากเด็กและสตรี ความรุนแรงทุกรูปแบบในสังคมไทยมีควรที่จะเกิดขึ้น ทุกคนในสังคมไทยควรมีจิตสำนึกคิดถึงผลที่ตามมาจากการกระทำที่ได้ลงมือหรือว่าตัดสินใจเพียงแค่อารมณ์ชั่ววูบ คิดก่อนทำ ไม่ใช่ทำก่อนคิดนะจ๊ะ

รศ.ดร.ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร คณบดีคณะบริหารธุรกิจคณบดีคณะบริหารธุรกิจ
“น้ำ” นายพงศ์ภัทร รอดอารี“ปิง” นายศักดิ์ดา อาทิตย์มณีรัตน์
“แป้ง” น.ส. สาวิตรี แซ่ตัน“ตั้ม” นายอนาวิล วงศกรพัชร, “หว้า” นายเมธา จันทร์แดง และ “ป่อ” นายอัฏฐพร เผงสวัสดิ์


loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...