ประชาสัมพันธ์

รับตรง โครงการปริญญาตรีภาคพิเศษ อุตสาหกรรมการเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ รอบที่ 1


รับตรง โครงการปริญญาตรีภาคพิเศษ อุตสาหกรรมการเกษตร  ม.เกษตรศาสตร์ รอบที่ 1
รับสมัคร วันที่ 10 ถึง 21  มกราคม 2554
สำหรับ  ผู้ที่กำลังศึกษาชั้น ม.6 หรือ สำเร็จการศึกษา  โดย Gpax ไม่ต่ำกว่า 2
ใช้ คะแนน GAT  Pat1 และ Pat2
เปิดรับสาขาละ 60 คน นะครับ

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ให้การศึกษาเกี่ยวกับการนำความรู้ด้านเคมีชีวภาพ จุลชีววิทยาวิศวกรรมเคมี และพันธุวิศวกรรมมาใช้ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบทางชีวภาพเพื่อการผลิตสารเคมีชีวภาพ ที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงศึกษาเกี่ยวกับการบำบัดและการนำของเสียไปใช้ประโยชน์   ดูรายละเอียดเพิ่มเติม 

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ให้การศึกษาโดยเรียนรู้วิชาด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานต่างๆ และวิศวกรรม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาและทดลอง กรรมวิธีการแปรรูป วัตถุดิบทางการเกษตร ให้เป็นอาหารสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปต่าง ๆ ตลอดจนการตรวจสอบและควบคุมการผลิต และคุณภาพของอาหารให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับและปลอดภัยต่อการบริโภค   ดูรายละเอียดเพิ่มเติม 

สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ ให้การศึกษาเกี่ยวกับการนำความรู้พื้นฐานทางด้านวัสดุศาสตร์ เคมี วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และศิลปอุตสาหกรรม มาประยุกต์เข้าด้วยกัน เพื่อผลิตวัสดุทางการบรรจุและบรรจุภัณฑ์ สำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังศึกษาวิธีทดสอบคุณสมบัติการใช้งาน ตลอดจนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งฉลากทางด้านโครงสร้างและความสวยงาม ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและตลาด   ดูรายละเอียดเพิ่มเติม 

สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร ให้การศึกษาโดยมีเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์พื้นฐาน การประกันและการควบคุมคุณภาพในการแปรรูปผลิตผลการเกษตร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวิจัยและพัฒนา การจัดการอุตสาหกรรมเกษตร นำมาประยุกต์กับความรู้ด้านการตลาดเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาด   ดูรายละเอียดเพิ่มเติม 

สาขาวิชาวิทยาการสิ่งทอ เป็นวิชาการที่เกี่ยวข้องกับวิชาพื้นฐานของอุตสาหกรรมสิ่งทอ ความรู้ในเรื่องขั้นตอนการผลิตกระบวนการแต่ละขั้นตอน และปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การจัดการ และการควบคุมการผลิตให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยภาควิชามีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิต ในระดับผู้ควบคุมการผลิตในทุกขั้นตอนของการอุตสาหกรรมสิ่งทอและผลิตภัณฑ์  ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เวลาเรียน
วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ ช่วงเวลา 09.00 น.-19.00 น. 
วันเสาร์ หรือ วันอาทิตย์ ช่วงเวลา 09.00 น.-16.00 น.

ค่าธรรมเนียมการศึกษา
ค่าธรรมเนียมการศึกษาเป็นระบบเหมาจ่าย
ภาคการศึกษาละ 37,700 บาท
(ตามหลักสูตร 4 ปี มี 8 ภาคการศึกษา)

จบแล้วทำงาอะไร 
ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ
ผู้ที่เรียนจบสาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ สามารถทำงานเป็นนักเทคโนโลยีการบรรจุ ที่ออกแบบและควบคุมการผลิตภาชนะบรรจุ หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแนะนำภาชนะบรรจุให้เหมาะสมกับชนิดของผลิตภัณฑ์ สถานที่ทำงานหลังจบการศึกษาได้แก่ บริษัทในกลุ่มอุปโภคบริโภค เช่น Procter & Gamble Manufacturing Ltd., คอลเกต ปาล์มโอลีฟ ประเทศไทย จำกัด, จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ประเทศไทย จำกัด, 3 เอ็ม ประเทศไทย จำกัด ฯลฯ บริษัทในกลุ่มวัสดุบรรจุ เช่น ฟิล์มมาสเตอร์ จำกัด, สยามคราฟท์อุตสาหกรรม จำกัด, เยื่อกระดาษสยาม จำกัด ฯลฯ และกลุ่มการพิมพ์ภาชนะบรรจุ เช่น สยามบรรจุภัณฑ์ จำกัด, สยามทบพัน จำกัด, Fuji Ace Co.,Ltd ฯลฯ

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
ผู้ที่จบสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสามารถทำงานในภาคอุตสาหกรรมการหมัก อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ฯลฯ ในบทบาทของนักวิจัย ผู้ควบคุมการผลิต ผู้ควบคุมคุณภาพ หรือศึกษาต่อปริญญาโทเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทั้งในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ หรือวิศวกรรมเคมี บัณฑิตของภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพได้มีโอกาสเข้าไปทำงานในบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทเนสเล่(ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทไทยเทพรสผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน), บริษัทเบทาโกรอโกรกรุ๊ฟ จำกัด (มหาชน), บริษัทซี.พี.อินเตอร์ฟูด (ไทยแลนด์) จำกัด ฯลฯ หรือทำงานในหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยต่างๆ ฯลฯ


ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
ผู้จบการศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารสามารถทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ในฝ่ายควบคุมการผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายวิจัยและพัฒนา หรือฝ่ายขาย และ ผู้จบการศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมอาหารสามารถทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารในตำแหน่งวิศวกรกระบวนการแปรรูปอาหาร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมการผลิต บัณฑิตของภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารสามารถทำงานในบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี), บริษัทลีเวอร์บราเธอร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทเนสท์เล่ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทยูไนเต็ดฟูดส์ จำกัด ฯลฯ หรือทำงานในหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ เช่น สำนักงานอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงสาธารณสุข โครงการหลวงและโครงการส่วนพระองค์ ฯลฯ

ภาควิชาวิทยาการสิ่งทอ
ผู้ที่เรียนจบสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอสามารถก้าวสู่มืออาชีพด้านการจัดการธุรกิจสิ่งทอและผลิตภัณฑ์ หรือเป็นผู้ควบคุมการผลิต หรือหัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มต่างๆ เช่น โรงงานปั่นด้าย โรงงานฟอกย้อม โรงงานพิมพ์ผ้า โรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป โรงงานผลิตภัณฑ์สิ่งทอต่างๆ โรงงานเคหะสิ่งทอ หรือเป็นนักวิจัยในหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันสิ่งทอ สถาบันค้นคว้าและวิจัยต่างๆ ฯลฯ

 
 ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์
ผู้ที่เรียนจบสาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์สามารถเป็นนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นพนักงานควบคุมการผลิตในบริษัทเอกชนต่างๆ ที่มีกิจการเกี่ยวข้องกับสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ทั้งที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร หรือทำงานในองค์กรของรัฐต่างๆ เช่น สภาวิจัย ศูนย์พันธุวิศวกรรม สถาบันอาหาร ฯลฯ ในตำแหน่งนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และผู้ควบคุมคุณภาพสินค้า หรือศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในสาขาเดิมหรือสาขาอื่น เช่น สาขาสิ่งแวดล้อม,Food Engineering, Chemical Engineering, MBA, Marketing, Industrial Engineering, Packaging ฯลฯ


รายละเอียดการรับสมัคร   http://www.sbai.agro.ku.ac.th/inews/photo/113.pdf
หน้าเว็บไซต์หลัก http://www.sbai.agro.ku.ac.th/

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...