ประชาสัมพันธ์

รับตรง วิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ เปิดรับสมัครแล้ว


อาชีพวิศวกร
เมื่อเอ่ยถึงอาชีพวิศวกรหลายคนคงนึกภาพไปถึงวิศวกรควบคุมงานก่อสร้างตึกระฟ้าสูง วิศวกรควบคุมการก่อสร้างสะพานและถนน หรืออาจจะนึกไปถึงนายช่างใหญ่ดูแลและควบคุมเครื่องจักรในโรงงาน แต่ในปัจจุบันงานทางวิศวกรรมเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับแทบจะทุกภาคฝ่ายในสังคม
วิศวกรเป็นอาชีพที่ต้องใช้ความคิดและแก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา จากหลักการและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรได้พัฒนาและนำมาประยุกต์ใช้สร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่ก่อประโยชน์ให้กับมนุษยชาติอย่างมหาศาล วิศวกรโยธาใช้กฎพื้นฐานทางกลศาสตร์ในการออกแบบโครงสร้างของอาคารที่รองรับลมพายุและแผ่นดินไหว วิศวกรเคมีใช้ความรู้ด้านการเกิดปฏิกิริยาเพื่อออกแบบขั้นตอนและสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตวัตถุดิบมากมายให้กับอุตสาหกรรม วิศวกรวัสดุออกแบบวัสดุแบบใหม่ที่แข็งแรงและมีน้ำหนักเบา วิศวกรไฟฟ้าสื่อสารออกแบบระบบเสารับส่งสัญญาณทำให้สามารถส่งรับสัญญาณได้ไกลขึ้นแต่ยังคงความชัดเจนอยู่
นอกจากนี้งานในปัจจุบันบางชนิดยังต้องการความรู้จากหลายสาขา เช่นการพัฒนาหุ่นยนต์ ที่ต้องใช้ความรู้ด้านการควบคุมจากวิศวกรรมไฟฟ้า เครื่องยนต์กลไกจากวิศวกรรมเครื่องกล และการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความชาญฉลาดจากวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
 

อาชีพวิศวกรเหมาะกับคุณหรือไม่?

งานด้านวิศวกรรมเหมาะกับผู้ที่มีลักษณะและความสนใจดังนี้
  • ชอบคิดและวิเคราะห์ สามารถกล่าวได้โดยไม่ผิดพลาดนักว่าปัญหาหลักทางด้านวิศวกรรมคือการออกแบบอะไรบางอย่างภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ ปัญหาเหล่านี้มักไม่มีคำตอบที่แน่ชัดว่าถูกหรือผิด หรือในบางครั้งแม้แต่จะระบุว่าอะไรคือคำตอบที่ดีที่สุดก็อาจจะทำไม่ได้ หน้าที่ของวิศวกรคือการตัดสินใจเลือกคำตอบที่เหมาะสมโดยต้องคำนึงถึงข้อดีข้อเสียและหาจุดที่ลงตัวที่สุด การตัดสินใจทั้งหมดนี้ต้องทำภายใต้หลักการหรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นคุณสมบัติที่สำคัญข้อหนึ่งของวิศวกรคือต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการคิดและวิเคราะห์ปัญหา
  • ชอบความท้าทาย แทบไม่มีงานเชิงวิศวกรรมใดที่สามารถกางตำราแล้วหาคำตอบที่ต้องการได้เสมอ ดังนั้นในการปฏิบัติงานสิ่งที่วิศวกรจะได้พบก็คือปัญหาที่ต้องการการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาเข้ากับสถานการณ์ที่กำลังพบอยู่และมักจะมีเงื่อนไขประกอบให้พิจารณามากมาย เช่น กำหนดการที่วางไว้ หรืองบประมาณที่เหลืออยู่ ลักษณะงานแบบนี้เมื่อพิจารณาดูอาจจะไม่ใช่งานแบบสบาย ๆ สักเท่าใด อย่างไรก็ตาม นอกจากความภาคภูมิใจที่วิศวกรได้รับหลังจากที่แก้ปัญหาลุล่วงไปแล้ว คุณประโยชน์จากผลงานที่วิศวกรทำไว้นั้นมักคุ้มค่ากับกำลังกายกำลังสมองที่ใช้ไปเสมอ
  • มีความรับผิดชอบ วิศวกรเป็นอาชีพที่มีเกียรติเพราะนอกจากจะสร้างประโยชน์ให้กับส่วนรวมแล้ว ยังต้องมีความรอบคอบเพราะว่าความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจทำให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงได้ บุคคลที่จะได้รับชื่อว่าเป็นวิศวกรได้นั้นจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง มีความหนักแน่นไม่เอนเอียงเข้าหาผลประโยชน์เล็กน้อยมากกว่าความสำเร็จที่แท้จริงของงาน

ขั้นตอนการสมัคร

  • ผู้สมัครจะต้องลงทะเบียนเข้าใช้ระบบเพื่อรับรหัสผ่านทางอีเมล์ เพื่อเข้าใช้ระบบ จากนั้นผู้สมัครจะต้องป้อนข้อมูลในใบสมัครจนครบถ้วน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะรวมถึงที่อยู่ ผลการเรียนและลำดับสาขาวิชา
  • การกรอกใบสมัครไม่จำเป็นต้องกรอกให้เสร็จในครั้งเดียว สามารถทยอยกรอกและทยอยอัพโหลดเอกสารได้
  • ในการคำนวณคะแนนมาตรฐาน ระบบจะเลือกคะแนนสอบ GAT/PAT ในครั้งที่ทำให้ได้คะแนนสูงสุดโดยอัตโนมัติ
  • อย่างไรก็ตาม ในการใช้ระบบนี้ อีเมล์และรหัสประจำตัวประชาชน จะเป็นเครื่องมือหลักในการยืนยันตัวของผู้สมัคร ดังนั้นจึงควรรักษารหัสผ่านอีเมล์ของตนอย่างดี
 กำหนดการรับสมัคร
16 พ.ย. 53 - 15 ธ.ค. 53รับสมัครผ่านเว็บไซต์
22 ธ.ค. 53ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก
19 ม.ค. 54ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับคัดเลือกให้เข้าศึกษารอบที่ 1
19 ม.ค. 54 - 24 ม.ค. 54ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษารอบที่ 1 ยืนยันสิทธิ์
26 ม.ค. 54ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับคัดเลือกให้เข้าศึกษารอบที่ 2
(สำหรับผู้ที่ยังอยู่ในระบบและมิได้สละสิทธิ์ในรอบที่ 1)
26 ม.ค. 54 - 31 ม.ค. 54ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษารอบที่ 2 ยืนยันสิทธิ์
2 ก.พ. 54ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับคัดเลือกให้เข้าศึกษารอบที่ 3
(สำหรับผู้ที่ยังอยู่ในระบบและมิได้สละสิทธิ์ในรอบที่ 2)
2 ก.พ. 54 - 7 ก.พ. 54ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษารอบที่ 3 ยืนยันสิทธิ์
9 ก.พ. 54ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับคัดเลือกให้เข้าศึกษารอบที่ 4
(สำหรับผู้ที่ยังอยู่ในระบบและมิได้สละสิทธิ์ในรอบที่ 3)
9 ก.พ. 54 - 14 ก.พ. 54ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษารอบที่ 4 ยืนยันสิทธิ์
20 ก.พ. 54ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาทั้งหมด
สถิติจำนวนรับและคะแนนสูงสุด-ต่ำสุดแยกตามสาขา
ตารางด้านล่าง สรุปจำนวนรับและคะแนนสูงสุด-ต่ำสุดแยกตามสาขาของปี 2553 เทียบกับจำนวนรับของปี 2554 คะแนนดังกล่าวถูกปรับให้เป็นตามเกณฑ์เดียวกับการรับสมัครในปี 2554 แล้ว อย่างไรก็ตาม คะแนนสูงสุดและต่ำสุดในแต่ละปีการศึกษาอาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ จึงไม่ควรจะใช้สถิติในการพิจารณาเพียงอย่างเดียว
สาขาโครงการรับตรง ปีการศึกษา 2554โครงการรับตรง
ปีการศึกษา 2553
จำนวนที่ประกาศรับจำนวนที่ประกาศรับจำนวนรับเข้าจริงคะแนนต่ำสุดคะแนนสูงสุด
กลุ่มบางเขนภาคปกติ2892502386,400.047,450.40
วิศวกรรมโยธา4040446,329.467,254.12
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์2020197,109.817,602.21
วิศวกรรมไฟฟ้า20----
วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ302096,146.756,896.52
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม2030126,278.536,877.11
วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต15----
วิศวกรรมวัสดุ4825166,242.926,836.83
วิศวกรรมการบินและอวกาศ2015116,929.757,716.97
กลุ่มบางเขน (ภาคพิเศษ)2531952075,582.916,697.99
วิศวกรรมเคมี (ภาคพิเศษ)4850515,457.286,828.24
วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต (ภาคพิเศษ)15----
วิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์ (ภาคพิเศษ)4040405,124.306,536.79
วิศวกรรมเครื่องกล (นานาชาติ)5050625,691.806,684.56
วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต (นานาชาติ)3535285,853.616,980.51
วิศวกรรมซอฟแวร์และความรู้ (นานาชาติ)5050446,086.376,958.59
หมายเหตุ
คะแนนคำนวณตามเกณฑ์ดังนี้
  • GAT 25%
  • PAT1 25%
  • PAT3 50% 
สมัครรับตรง         

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...