ประชาสัมพันธ์

การใช้งานคอนเทคเลนส์

หลายคนคงรู้จัก “คอนแทคเลนส์” ว่าคือวัสดุที่ไว้สัมผัสกับดวงตา เพื่อใช้แก้ไขการมองเมื่อประสบปัญหาสภาวะต่าง ๆ ทางสายตา
       
แล้วรู้หรือไม่ว่า คอนแทคเลนส์ ทำมาจากอะไร มีการใช้งาน และดูแลรักษาอย่างไร รวมไปถึงชนิดของคอนแทคเลนส์อย่างเช่น บิ๊กอายส์ มีอันตรายจากการใช้หรือไม่ คุณหมอเกวลิน เลขานนท์ มีคำตอบให้
       
คอนแทคเลนส์ คือ แผ่นพลาสติกรูปวงกลมที่มีลักษณะบาง มีความโค้งจำเพาะ และทำจากวัสดุพลาสติกชนิดพิเศษ ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อใช้ใส่วางบนกระจกตาหรือตาดำ โดยทั่วไปวัตถุประสงค์หลักของการใช้คอนแทคเลนส์คือ ใส่เพื่อแก้ไขสายตาที่ผิดปกติ เช่น สายตาสั้น สายตายาว หรือ สายตาเอียง เช่นเดียวกันกับการใช้แว่นตา นอกจากนี้คอนแทคเลนส์ยังอาจมีประโยชน์ในการใช้รักษาโรคของกระจกตา หรือโรคของผิวหน้าดวงตาบางชนิดได้
       
ในปัจจุบันคอนแทคเลนส์ที่ใช้เพื่อแก้ไขสายตา อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามวัสดุที่ใช้ในการทำคอนแทคเลนส์ ได้แก่
       
1. คอนแทคเลนส์แบบกึ่งนิ่มกึ่งแข็ง หรือที่รู้จักกันว่า “RGP (อาร์จีพี)” ซึ่งย่อมาจากคำว่า rigid gas permeable lens (ริกิด แก๊ส เพอร์เมเบิล เลนส์) คอนแทคเลนส์ชนิดนี้จะค่อนข้างแข็ง ทำจากวัสดุพลาสติกชนิดพิเศษที่สามารถทำให้ออกซิเจนจากอากาศซึมผ่านตัวเลนส์ ไปสู่กระจกตาได้ในปริมาณสูง
       
2. คอนแทคเลนส์แบบนิ่ม หรือที่เรียกกันว่า “Soft lens (ซอฟต์ เลนส์)” เป็นคอนแทคเลนส์ที่ทำจากวัสดุพลาสติกจำเพาะอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำสูงกว่าชนิดอาร์จีพี ทำให้ตัวเลนส์มีความนิ่มและยืดหยุ่นมากกว่า ใส่สบายกว่า และยังคงมีการซึมผ่านของออกซิเจนจากอากาศผ่านตัวเลนส์ไปยังกระจกตาได้ใน ปริมาณที่เพียงพอ
       
คอนแทคเลนส์แบบนิ่มนี้สามารถแบ่งเป็นชนิดย่อย ๆ ตามคุณ สมบัติในการแก้ไขสายตา ได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่ใช้ในการแก้ไขสายตาสั้นหรือสายตายาวที่เป็นตั้งแต่เด็ก ชนิดที่ใช้แก้ไขสายตาเอียง และชนิดที่ใช้เพื่อแก้ไขสายตายาวที่เป็นตามวัย นอกจากนี้ยังอาจแบ่งตามรูปแบบการใช้งานได้เป็น 5 กลุ่ม คือ
       
1)คอนแทคเลนส์รายวัน คือ ใส่ ถอด และเปลี่ยนคอนแทคเลนส์อันใหม่ทุกวัน
       
2)คอนแทคเลนส์รายสัปดาห์ คือ ใส่และถอดออกทุกวัน และเปลี่ยนคอนแทคเลนส์อันใหม่ทุก 1-2 สัปดาห์
       
3)คอนแทคเลนส์รายเดือน คือ ใส่และถอดออกทุกวัน และเปลี่ยนคอนแทคเลนส์อันใหม่ทุก 1 เดือน
   
4)คอนแทคเลนส์รายปี คือ ใส่และถอดออกทุกวัน และเปลี่ยนคอนแทคเลนส์อันใหม่ทุกปี ซึ่งในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้ เนื่องจากการดูแลทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ค่อนข้างยุ่งยากและต้องเข้มงวดกว่า 3 แบบแรก
       
5)คอนแทคเลนส์ชนิดใส่ต่อเนื่อง คือ ใส่ต่อเนื่องโดยไม่ต้องถอดออกเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ จากนั้นถอดทิ้งแล้วเปลี่ยนอันใหม่ ซึ่งโดยปกติไม่แนะนำการใช้คอนแทคเลนส์รูปแบบนี้ เนื่องจากพบอัตราการติดเชื้อที่กระจกตาได้สูงกว่าการใช้แบบใส่และถอดออกทุก วันอย่างมาก
       
ปัจจัยสำคัญที่ควรพิจารณาก่อนการเลือกใช้คอนแทคเลนส์ คือ ความจำเป็นในการใช้คอนแทคเลนส์ เช่น มีสายตาผิดปกติ ไม่ต้องการใส่แว่นตา หรือมีปัญหาในการใช้แว่นตา เป็นต้น โดยที่ต้องไม่มีโรคตาหรือสภาวะผิดปกติทางร่างกายที่เป็นข้อห้ามในการใช้คอน แทคเลนส์ นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้การใช้คอนแทค เลนส์เกิดประโยชน์และมีความปลอดภัยสูงสุดคือ การเข้าใจและการปฏิบัติตนในการใส่ ถอด และเปลี่ยนคอนแทค   เลนส์ รวมถึงการดูแลรักษาคอนแทค   เลนส์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ส่วนการจะเลือกใช้คอนแทคเลนส์ประเภทใดนั้นขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ระดับและชนิดของค่าสายตาที่ผิดปกติ ลักษณะสุขภาพดวงตา สิ่งแวดล้อม และสุขนิสัยของผู้ใช้คอนแทคเลนส์ เป็นต้น
       
ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้คอนแทคเลนส์ ได้แก่ ผู้ที่มีการติดเชื้อที่ดวงตาบ่อย ๆ ผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้โดยเฉพาะภูมิแพ้ที่ดวงตา ผู้ที่มีโรคตาแห้ง ผู้ที่ทำงานในสภาวะแวดล้อมที่มีฝุ่นควัน หรือละอองสิ่งสกปรกในปริมาณมาก และผู้ที่ไม่สามารถดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ได้อย่างถูกวิธี
การดูแลรักษาคอนแทคเลนส์อย่างง่าย มีดังนี้
        
ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสคอนแทค เลนส์ และดวงตา ,ทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ และกล่องใส่คอนแทคเลนส์ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือน้ำยาทำความสะอาดที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง ตามขั้นตอน ,อย่าใส่คอนแทคเลนส์ตอนนอน ,อย่าใส่คอนแทคเลนส์ขณะว่ายน้ำ ,อย่าใช้น้ำประปา น้ำบาดาล น้ำเกลือที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อ หรือน้ำลาย ในการล้างหรือทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ ,อย่าใช้คอนแทคเลนส์ร่วมกับผู้อื่น ,ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ต่อเนื่องนานเกิน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน ,ควรเปลี่ยนคอนแทคเลนส์ตามระยะเวลาที่กำหนดสำหรับคอนแทคเลนส์ชนิดนั้น ๆ ,หลีกเลี่ยงการใช้ยาหยอดตาที่ไม่ได้รับการแนะนำโดยจักษุแพทย์หรือผู้เชี่ยว ชาญในขณะใส่คอนแทคเลนส์ ,หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ตาแดง เจ็บตา มีขี้ตา ตามัว ควรหยุดใส่คอนแทคเลนส์ และรีบไปพบจักษุแพทย์ทันที
   
ดังที่กล่าวไปในตอนต้นว่าการใส่และการดูแลรักษาคอนแทคเลนส์อย่างถูกต้อง เหมาะสม เป็นหัวใจสำคัญในการใช้คอนแทคเลนส์ได้อย่างปลอดภัย หากไม่สามารถปฏิบัติได้แล้วอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือผล  ข้างเคียงจากการใส่คอนแทคเลนส์ เช่น โรคตาแห้ง เยื่อบุตาหรือกระจก  ตาอักเสบจากภูมิแพ้คอนแทคเลนส์ กระจกตาบวมขุ่น หรือมีเส้นเลือดงอกผิดปกติที่กระจกตาจากการที่กระจกตาขาดออกซิเจน และที่รุนแรงที่สุดคือการติดเชื้อที่กระจกตา ซึ่งอาจลุกลามเข้าไปภายในลูกตา และทำให้สูญเสียดวงตาหรือการมองเห็นไปอย่างถาวรได้
       
ปัจจุบันยังพบว่า นอกจากการดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว ปัญหาสำคัญที่กำลังก่อตัวและเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ คือ การใช้ คอนแทคเลนส์ชนิดบิ๊กอายส์ (Big eyes) เพื่อแก้ไขสายตาหรือเพื่อความสวยงาม ซึ่งคอนแทคเลนส์ชนิดนี้มักมีสีสันให้เลือกหลากหลาย ราคาไม่สูง และสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายของชำ ร้านค้าทั่ว ๆ ไป หรือแม้แต่สั่งซื้อทางอินเทอร์เน็ต ทำให้คอนแทคเลนส์ชนิดนี้เข้าถึงได้ง่าย และเหมือนเป็นแฟชั่นตามกระแสนิยม โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียน วัยรุ่น นักศึกษา หรือคนทำงานทั่วไป อย่างไรก็ตามคอนแทคเลนส์ชนิดนี้โดยส่วน ใหญ่มักเป็นคอนแทคเลนส์ที่ไม่ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยา ว่ามีคุณภาพเข้าเกณฑ์มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้งานกับดวงตาได้อย่างปลอดภัย และผู้ใช้มักเลือกซื้อใส่โดยไม่ทราบถึงขนาดความโค้งของคอนแทคเลนส์ที่เหมาะ สมกับกระจกตาของตนเอง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้ง ในระยะสั้นและระยะยาวจากการใส่คอนแทคเลนส์ชนิดนี้ได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อที่กระจกตา ซึ่งพบตามมาได้บ่อยกว่าปกติ จากสถิติที่ โรงพยาบาลรามาธิบดีพบว่า มีผู้ป่วยโรคกระจกตาติดเชื้อจากการใส่คอนแทคเลนส์บิ๊กอายส์เข้ารับการรักษา เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้คอนแทคเลนส์ชนิดบิ๊กอายส์ เนื่องจาก    อาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่กระจกตาได้เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกันกับการใช้คอนแทคเลนส์มือสอง ซึ่งอาจมีคุณภาพและความปลอดเชื้อไม่ได้มาตรฐาน  และอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในลักษณะเดียวกัน.

พญ.เกวลิน เลขานนท์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มา  เดลินิวส์
ภาพ  news.nipa.co.th

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...