ประชาสัมพันธ์

'รู้ทันโรคเส้นประสาทกดทับบริเวณข้อมือ'

ในปัจจุบันนี้โรคอีกชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนทำงาน คือ “โรคเส้นประสาทกดทับบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome หรือ CTS)” พบมากในผู้ที่ใช้ข้อมือทำงานมาก ๆ เช่น กลุ่มแม่บ้านที่ทำกับข้าว  ซักผ้า ถักนิตติ้ง และคนที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ เพราะผู้ที่ทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นั้นมักจะใช้มือหรือข้อมือในท่าเดิม ๆ ในการหมุนหรือจับเมาส์หรือกดคีย์บอร์ด  จึงเป็นสาเหตุให้เกิดพังผืดตรงบริเวณช่องเส้นเอ็น ซึ่ง  โรคดังกล่าวนั้นเป็นอาการที่เกิดจากเส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve) ถูกกดทับบริเวณข้อมือ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเส้นเอ็นบริเวณช่องข้อมืออักเสบ ทำให้เส้นเอ็นบวมมีขนาดใหญ่ขึ้น มีผลให้ช่องว่างในข้อมือมีขนาดเล็กลง เส้นประสาทจึงถูกเบียดหรือถูกกดทับเส้นประสาทมีเดียนผ่านช่องข้อมือมีแขนง ไปยังนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางด้านนิ้วหัวแม่มือ เมื่อถูกกดทับทำให้มีอาการปวดและชาตามนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วก้อย หรือนิ้วนาง (ตามรูป) ถ้าเส้นประสาทถูกกดทับนาน ๆ กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือจะลีบเล็กลง ซึ่งอาการเหล่านี้  พบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย, พบในวัยกลางคนอายุ 30-50 ปี (หากพบในหญิงตั้งครรภ์ อาการอาจหายเองได้หลังคลอด) หรือสามารถพบได้  ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์  โรครูมาตอยด์ มีโอกาสเป็นมากกว่าคนทั่วไป โดยอาการที่พบบ่อยคือ ชานิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง (Num bness) มีอาการปวด เสียวคล้ายไฟช็อต (Tingling) และปวด (Pain) บริเวณข้อมือ มือ นิ้วมือ อาจปวดขึ้นตามแขนถึงไหล่ มักมีอาการเวลากลางคืน เวลาทำงาน ทำอาหาร โทรศัพท์ เขียนหนังสือ ขับรถ หรือเมื่อใช้ ข้อมือมาก เช่น อุ้มลูก, ยกของ บางครั้งทำให้ต้องตื่นมากลางดึก เนื่องจากมีอาการปวดและชาฝ่ามือมาก ต้องสะบัดมือหรือนวดฝ่ามือ อาการถึงจะทุเลาลง
   
การรักษา แบ่งออกเป็น 2 แนวทางด้วยกันคือ
   
1.การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งอาจรักษาด้วย วิธีการทานยา เพื่อลดอาการอักเสบและบวม, ใช้อุป กรณ์พยุงข้อมือ เพื่อลดการอักเสบโดยจำกัดการเคลื่อนไหวข้อมือ หรือหากไม่ทุเลา แพทย์อาจพิจารณาฉีดยารักษาเฉพาะที่
   
2.การรักษาโดยการผ่าตัด จะใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดก็ต่อเมื่อรักษาด้วยวิธีการข้างต้นแล้วอาการ ไม่ดีขึ้น หรือมีอาการชาหรือปวดมากขึ้น หรือมีอาการลีบของกล้ามเนื้อฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือ ต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
   
ดังนั้นจึงควรป้องกันอาการอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อมือ โดยปรับวิธีการทำงาน การใช้ข้อมือ โดยปรับโต๊ะทำงาน ปรับคอมพิว เตอร์ ให้เหมาะสมกับการทำงาน ไม่อยู่ในท่างอหรือกระดกข้อมือตลอดเวลา และหมั่นเปลี่ยนอิริยาบถในการทำงานบ่อย ๆ หากดูแลตนเองเบื้องต้นแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์
       
นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์
ที่มา  เดลินิวส์

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...