ประชาสัมพันธ์

ให้เกียรติอดีตปลัดก.ทรัพย์ฯ ใช้ชื่ิอ "กะเพราศักดิ์สิทธิ์"

Pic_107356
พบกะเพราพันธุ์ใหม่ของโลกในประเทศไทยที่ "ภูวัว" จ.หนองคาย ตั้งชื่อว่า "กะเพราศักดิ์สิทธิ์" เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณแก่นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช อดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม...
30 ส.ค. นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช แถลงข่าวการค้นพบพรรณไม้ใหม่ของโลกในประเทศไทยว่า  ขณะนี้มีเรื่องที่น่ายินดีเมี่อคณะสำรวจพรรณไม้ของกรมอุทยานฯ ได้สำรวจพบกะเพราชนิดใหม่ของโลก วงศ์ Labiatae พบบริเวณเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูวัว จ.หนองคาย

โดยพรรณไม้ดังกล่าว นี้ขึ้นอยู่บนดินตื้นๆ บนภูเขาหินทรายตามป่าเต็งรัง ลำต้นเป็นเหลี่ยม สูงประมาณ 50-60 เซนติเมตร กิ่งมีขนสั้นและนุ่ม ใบเดี่ยวเรียงตรงสลับตั้งฉาก ยาว 0.4-1 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนสากด้านบน ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ออกดอกและติดผลเดือนต.ค.-ธ.ค. แต่กลิ่นไม่รุนแรงเหมือนกะเพราบ้าน ส่วนจะรับประทานเป็นอาหารได้หรือไม่ ยังไม่ได้ทำการทดลอง เพราะอยู่ในขั้นตอนการจัดเตรียมตีพิมพ์ประกาศให้เป็นพืชชนิดใหม่ของโลก โดยจะให้แล้วเสร็จในปี 2553 หลังจากที่ใช้เวลาในการตรวจสอบกับตัวอย่างพรรณไม้ต่างๆ ที่ใกล้เคียงในหอพรรณไม้ทั่วโลก และไม่พบว่ากะเพราพันธุ์ใหม่ของไทยไปซ้ำหรือใกล้เคียงกับของประเทศอื่น ดังนั้นจึงเป็นกะเพราพันธุ์ใหม่ของโลก ทั้งนี้จะให้ชื่อว่า กะเพราศักดิ์สิทธิ์ (Platostoma tridechii) เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและคุณูปการแก่นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช อดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรฯ ที่ทำหน้าที่ปกป้อง ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชาติอย่างเต็มกำลังความสามารถจนจบ ชีวิตในขณะปฏิบัติหน้าที่

“การตั้งชื่อกะเพราพันธุ์ใหม่ของโลก ชื่อกะเพราศักดิ์สิทธิ์ น่าจะเหมาะสม เพราะนายศักดิ์สิทธิ์ชอบทานผัดกะเพรามาก และกะเพราพันธุ์ใหม่ยังมีอยู่ที่เดียวคือภูวัว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นภาคที่นายศักดิ์สิทธิ์เกิด โดยกรมฯจะทำการศึกษาเพื่อขยายพันธุ์เพราะจัดเป็นพืชหายากใกล้สูญพันธุ์” อธิบดีกรมอุทยานฯ กล่าว

นอกจากนี้ นายจตุพร ยังกล่าวอีกว่า กรมฯยังค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลกในประเทศไทย สกุลโมกอีก 3 ชนิด คือ โมกการะเกตุ พบเพียงแห่งเดียวทางภาคเหนือที่อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ใกล้ชายแดนไทย-พม่า เป็นไม้ต้นสูงประมาณ 5-10 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม มีดอกสวยงาม กลีบดอกเป็นรูปกงล้อสีแดงสด มีสีเขียวที่โคนด้านนอก ช่อดอกออกสั้นๆ ตามปลายกิ่ง มีขนละเอียด ก้านช่อดอกยาวได้ประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอกประมาณเดือนพ.ค. ติดผลประมาณเดือนก.ย.

ต่อมาที่ค้น พบคือ โมกพะวอ มีต้นสูงประมาณ 15 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม มีดอกสวยงาม เป็นรูปกงล้อ สีเขียวอมเหลือง ด้านในและด้านนอกมีสีเข้ม หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร กลีบรูปวงรี ยาวประมาณ 1.3 เซนติเมตร กระบังสีเหลือง เรียงติดกันเป็นวงคล้ายรูปถ้วย พบเฉพาะภาคเหนือบริเวณศาลพะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก ขึ้นบนเชิงเขาหินปูน ในป่าเบญจพรรณ ออกดอกประมาณเดือนพ.ค. ติดผลประมาณเดือนส.ค. และโมกชนิดใหม่ของโลกอีกชนิดหนึ่งคือ โมกนเรศวร ต้นสูงประมาณ 4 เซนติเมตร เปลือกสีเขียวปนเทา ดอกเป็นรูปกงล้อ สีส้มอมเหลืองสวยงาม ดอกยาวประมาณ 2.7 เซนติเมตร มีปุ่มเล็กๆ ด้านใน กลีบรูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร พบเฉพาะทางภาคเหนือที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อ.อุ้มผาง จ.ตาก ขึ้นตามสันเขาในป่าเบญจพรรณ ระดับความสูงประมาณ 700 เมตร ดอกออกเดือนพ.ค.ของทุกปี

ทั้งนี้ โมกพันธุ์ใหม่ของโลกทั้ง 3 ชนิดพันธุ์ ได้รับการยืนยันการจากนายเดวิด มิดดันตัน ผู้เชี่ยวชาญพรรณไม้ในสกุลโมก จากหอพรรณไม้เอดินเบิร์ก สหราชอาณาจักร และได้รับการตีพิมพ์ ลงในวารสาร Gardens Bulletin Singapore ซึ่งเป็นวารสารระดับโลกด้านพรรณไม้ และทำให้ประเทศไทยมีพืชสกุลโมกเพิ่มเป็น 14 ชนิด จากพืชสกุลโมกทั่วโลกทั้งหมด 25 ชนิด ซึ่งถือว่าประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ของพืชสกุลโมกของโลกไป แล้ว

ข่าว/ภาพ  ไทยรัฐ

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...