ประชาสัมพันธ์

ปวด ปวด ปวด!! ..ก่อนมีประจำเดือน

คุณผู้หญิงเคยมีอาการเหล่านี้ก่อนมีประจำเดือนบ้างหรือไม่?
       
ฉุนเฉียว ขี้โมโห วิตกกังวล อารมณ์แปรปรวน สิวขึ้น โกรธ และร้องไห้ง่าย
       
ถ้ามีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ แล้วเคยส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง คนใกล้ตัวคุณบ้างหรือไม่..คอลัมน์หมอรามาฯ ไขปัญหาสุขภาพ ฉบับนี้ มีข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดก่อนมีประจำเดือน ซึ่งอาจส่งผลอันตรายและผลกระทบต่อคุณผู้หญิงเองและคนรอบข้างได้มาก หากไม่ทำการตรวจรักษา
       
อาการปวดก่อนมีประจำเดือน หรือ PMS (พีเอ็มเอส) เป็นกลุ่มอาการความผิดปกติที่แสดงออกทั้งทางร่างกายและทางพฤติกรรม ซึ่งเกิดขึ้นซ้ำซ้ำ ในช่วงก่อนมีประจำเดือน โดยจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และจากรายงาน  ยังพบกลุ่มอาการพีเอ็มเอสนี้ในสตรีสูงถึงร้อยละ80 ส่วนสาเหตุการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่ากลไกการเกิดอาการปวดดังกล่าว น่าจะเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนสเตีย รอยด์ของรังไข่ระหว่างรอบประจำเดือน ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทจากสมองส่วนกลาง นอกจากนี้ยังมีรายงานถึงการขาดวิตามิน เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินบี 6 และเกลือแร่บางชนิด เช่น ซิงก์ คอปเปอร์ หรือ แมกนีเซียม อีกทั้งจากปัจจัยทางสังคมและความเครียด ก็มีส่วนด้วยเช่นกัน
       
ลักษณะอาการ และความรุนแรงของอาการ อาการท้องอืดบวมเป็นอาการทางกายที่มักพบได้บ่อยที่สุด รองลงมาคืออาการคัดตึงเต้า และอาการปวดศีรษะ ส่วนอาการทางพฤติกรรมที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ความรู้สึกอ่อนเพลียและอาการฉุนเฉียว ขี้โมโห ซึ่ง พบได้มากถึงร้อยละ 90 รองลงมาอีกคือ ความวิตกกังวล รู้สึกอึดอัด และอารมณ์แปรปรวน นอกจากนี้ยังมีอาการทางพฤติกรรมอื่น ๆ ที่พบได้บ่อยเช่นกัน ได้แก่ ความอยากรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น อาการหลงลืม และอาการสมาธิสั้น เป็นต้น ในขณะที่การมีสิวขึ้น ภาวะไวต่อการถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า เช่น รู้สึกโกรธง่าย ร้องไห้ง่าย และความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร จะพบได้น้อยกว่าซึ่งการจำแนกความรุนแรงของอาการ จะใช้อาการทางจิตประสาทมาเป็นตัวกำหนด หากมีอาการทางจิตประสาทมาก ก็อาจ จำเป็นที่ต้องทำการรักษาเฉพาะหรือใช้ยาที่มีผลควบคุมต่อจิตประสาท ร่วมด้วย
       
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง และคนรอบข้าง ผลกระทบทางด้านสุขภาพ คุณภาพชีวิต และประสิทธิภาพการทำงานในสตรีที่มีกลุ่มอาการดังกล่าว จะลดลง ในระหว่างที่เกิดอาการ ผลกระทบทางด้านสังคมอาจทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน การประสานงานกับผู้อื่น ตลอดจนความล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่ปกติ ในขณะที่คนรอบข้างอาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจิต ทั้งในทางตรงหรือทางอ้อมได้เช่นเดียวกัน อันอาจก่อให้เกิดความแตกแยกของความสัมพันธ์ ในระดับองค์กรได้
       
แล้วอาการปวด PMDD (พีเอ็มดีดี) คืออะไร แตกต่างจาก PMS (พีเอ็มเอส) อย่างไร?
       
พีเอ็มดีดี จะหมายถึง อาการพีเอ็มเอสขั้นรุนแรง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่องาน สังคม และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล อาจเกิดร่วมกับโรคทางจิตเวชอื่นได้ โดยอาการที่พบมักจะเป็นอาการที่แสดงออกทางพฤติกรรมเท่านั้น

การวินิจฉัยอาการพีเอ็มเอส และ  พีเอ็มดีดี ของแพทย์ จะต้องใช้หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาที่สำคัญคือ อาการเฉพาะ ของพีเอ็มเอส ความสัมพันธ์ของอาการพีเอ็มเอสกับระยะของรอบเดือน ความรุนแรงของอาการพีเอ็มเอส ซึ่งอาการดังกล่าวต้องไม่สัมพันธ์กับการใช้ยาอื่นใด ส่วนการสังเกตอาการ  ตนเองว่าเป็นพีเอ็มเอสหรือไม่นั้น สังเกต  ได้ดังนี้
   
อาการแสดงของพีเอ็มเอส ได้แก่ อ่อนเพลีย ขี้โมโห ซึมเศร้า โกรธง่าย ขาดสมาธิ ไม่อยากเข้าสังคม อาการแสดงของพีเอ็มดีดี ได้แก่ ความรู้สึกเศร้า หมดหวัง โทษตนเอง รู้สึกอึดอัด และกังวล มีอารมณ์แปรปรวน ร้องไห้ง่าย ฉุนเฉียว ขี้โมโห ขัดแย้งกับบุคคลอื่น สนใจในกิจกรรมประจำวันน้อยลง มีสมาธิสั้น รู้สึกอ่อนเพลีย ความอยากรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลงไป พฤติกรรมการนอนผิดปกติ ควบคุมตนเองไม่ได้ เป็นต้น
       
วิธีการรักษาในปัจจุบัน อาจแบ่งการรักษาอาการทั้ง พีเอ็มเอส และ พีเอ็มดีดี ได้เป็นการรักษาทั่วไป และการรักษาที่จำเพาะต่อโรค โดยการรักษาที่จำเพาะจะใช้เฉพาะในรายที่มีหลักเกณฑ์การวินิจฉัยที่ชัดเจน เท่านั้น ส่วนการรักษาทั่วไปไม่จำเพาะ ได้แก่ การออกกำลังกาย การผ่อนคลายความเครียด การรับประทานวิตามิน บี 6 แคลเซียม วิตามินอี แมกนีเซียม ตลอดจนการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด
       
ส่วนการรักษาที่จำเพาะได้แก่ การใช้ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อ  จิตประสาท การให้ยากดการทำงานของรังไข่ หรือการผ่าตัดรังไข่  ทั้งสองข้างในกรณีที่มีความจำเป็น นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า การ  รับประทานเครื่องดื่มที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ๆ เช่น เครื่องดื่มที่หวานมาก ๆ จะสามารถลดอาการทางจิตใจและการอยากรับประทานอาหารได้
       
อาการของพีเอ็มดีดี มีความคล้ายคลึงกับโรคทางจิตเวช  อื่น ๆ จึงได้มีความพยายามที่จะวินิจฉัยโรคให้แม่นยำขึ้น โดยใช้การจดบันทึกข้อมูลที่เกิดขึ้นใหม่ทุกวันในแต่ละวัน โดยผู้ป่วยต้องจดบันทึกติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 2 รอบประจำเดือน.
 ข่าว/ภาพ

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...