ประชาสัมพันธ์

ม.5 สอบ GAT หมดสิทธิ์ แอดมิชชั่น





ม.5 สอบ 'GAT'หมดสิทธิ์แอดมิชชั่น (ไทยโพสต์)

         สอบ "GAT-PAT" พบปัญหาซ้ำซาก "ม.5" กว่า 4 พันคนเมินระเบียบ ทปอ.ขอเข้าสอบด้วย ระบุต้องการแค่อยากทดลอง-ดูแนวทางข้อสอบ "สทศ." หัวเสียด่าเด็กดันทุรัง ขู่เล่นบทโหดตัดสิทธิ์สมัครแอดมิชชั่นกลาง พิลึก! ลงทุน 8 แสนบาทประกาศผลสอบผ่าน SMS คิดค่าบริการ 3 บาท อ้างแก้ปัญหาเว็บล่ม

         เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม นางอุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (ผอ.สทศ.) ให้สัมภาษณ์หลังตรวจเยี่ยมการสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และการสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ (PAT) ประจำปีการศึกษา 2553 ที่สนามสอบโรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ว่าวันแรกของการสอบมีผู้เข้าสอบทั้งหมดในครั้งนี้รวม 234,059 คน พบปัญหามากที่สุดคือมีนักเรียนที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 มาสมัครสอบประมาณ 4,000 คน ซึ่งขัดต่อระเบียบการสอบ และขัดมติที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ทปอ.)

         "เพราะมติ ทปอ.ไม่ให้สิทธิ์นักเรียนต่ำกว่าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สอบ GAT และ PAT เนื่องจากเห็นว่าเด็กมีโอกาสสอบแบบทดสอบดังกล่าวได้ถึง 3 ครั้งในช่วงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมากเพียงพอแล้ว ที่สำคัญหากให้เด็กต่ำกว่าระดับดังกล่าวสอบ จะเป็นตัวเร่งให้เด็กเรียนกวดวิชา เพราะยังมีความรู้ในระดับ ม.ปลายไม่ครบที่จะทดสอบ และยังเป็นการสร้างภาระค่าใช้จ่ายแก่เด็กและครอบครัวอย่างไม่จำเป็น"

         นางอุทุมพรกล่าวต่อว่า  ที่ผ่านมา สทศ.ได้ประกาศให้เด็กที่อยู่ในกลุ่มเข้าข่ายต้องสงสัยเป็นเด็ก ม.5 ได้รู้ชัดเจนแล้วว่าถ้าดันทุรังเข้าสอบจะไม่พิจารณาประกาศผลคะแนนสอบให้ แต่ปรากฏว่าในการสอบครั้งนี้สนามสอบ 187 สนามทั่วประเทศก็มีการรายงานให้ทราบว่าเด็กกลุ่มดังกล่าวยังดื้อดึงมาทำการ สอบโดยไม่สนใจว่าเราจะประกาศคะแนนสอบให้หรือไม่

         "เด็กบอกว่าเขาต้องการเพียงอยากจะมาลองทำดูว่าแนวข้อสอบเป็นอย่างไร รวมทั้งหาประสบการณ์เรียนรู้บรรยากาศในการสอบการปฏิบัติตัว ซึ่ง สทศ.ได้ให้เจ้าหน้าที่ผู้คุมสอบนำเอกสารให้เด็กเหล่านี้เซ็นยืนยันเป็นลาย ลักษณ์อักษร ว่าจะยอมรับสภาพที่เกิดขึ้นจากผลการฝ่าฝืนของตัวเองทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ สทศ.ไม่ประกาศผลสอบให้ รวมทั้ง สทศ.จะรายงานพฤติกรรมของเด็กกลุ่มนี้ต่อที่ประชุม ทปอ.ให้ ทปอ.พิจารณาว่าจะจัดการอย่างไร ซึ่ง ทปอ.อาจพิจารณาตัดสิทธิ์ไม่ให้เด็กกลุ่มนี้สมัครแอดมิชชั่นกลางในปีที่ตัว เองจบการศึกษา ม.ปลายก็ได้" นางอุทุมพรกล่าว

         ผอ.สทศ.กล่าวอีกว่า ในจำนวนเด็กที่เข้าข่ายต้องสงสัยกลุ่มนี้ มีบางรายเป็นเด็กชั้น ม.6 แต่กรอกข้อมูลการสมัครผิดพลาดว่าตัวเองอยู่ชั้น ม.5 เด็กกลุ่มนี้สามารถแจ้งขอแก้ไขข้อมูลกับ สทศ.เพื่อจะได้ไม่ถูกตัดสิทธิ์การประกาศผลสอบได้  โดยสามารถพิมพ์คำร้องขอแก้ไขข้อมูลจากเว็บไซต์ สทศ. และยื่นเรื่องดังกล่าวพร้อมหลักฐานสำเนาบัตรประชาชนไว้ที่สนามสอบด้วยตัว เอง  หรือรอยื่นแก้ไขหลังวันประกาศผลสอบ GAT, PAT วันที่ 14 สิงหาคม ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเป็นนักเรียนชั้น ม.6 สทศ.ก็จะประกาศผลสอบให้

         ทั้งนี้ สทศ.คาดว่าการสอบปีนี้ปัญหาทุจริตน่าจะมีน้อยมาก โดยเฉพาะทุจริตในรูปแบบที่เป็นไฮเทคน่าจะไม่มี เพราะ สทศ.บังคับเด็กนั่งอยู่ในห้องสอบจนครบเวลาทุกคน และห้ามนำเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเข้าห้องสอบ ถ้าจะมีทุจริตก็อาจหลุดรอดมาในแนวโลว์เทคมากกว่า

         ผอ.สทศ.กล่าวด้วยว่า นอกจากนั้นยังพบว่าการสอบครั้งนี้มีผู้สมัครสอบที่อายุสูงสุดเป็นชายอายุ 61 ปี โดยสมัครสอบ 3 วิชาคือ GAT, PAT 1 คณิต และ PAT 4 สถาปัตย์ ที่สนามสอบ จ.เชียงใหม่ แต่ไม่มาเข้าสอบ GAT ทั้งนี้กลุ่มคนที่อายุเกินวัยเรียนมหาวิทยาลัยที่ สทศ.สำรวจจากการสอบครั้งนี้ พบผู้มีอายุ 26 ปีขึ้นไปจนถึง 61 ปีมาสมัครสอบราว 150 คน สทศ.คาดว่าคนกลุ่มนี้น่าจะเป็นผู้ที่ต้องการนำผลสอบไปสมัครคัดเลือกเข้าทำ งานตามองค์กรต่างๆ เพราะมีหลายองค์กรติดต่อมาทาง สทศ.ว่าอยากจะขอนำคะแนนสอบ GAT, PAT มาทำการคัดเลือกคนเข้าทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพวกกลุ่มวิชาชีพเฉพาะ เช่น วิศวะ ครู สถาปัตยกรรม และในการสอบเมื่อปีการศึกษา 2552

         "สทศ.ยังพบว่าผู้เข้าสอบที่อายุมากๆ เป็นกลุ่มพ่อแม่ เป็นกลุ่มเครือญาติคนในครอบครัวของเด็กนักเรียนที่เข้าสอบจำนวนไม่น้อยเลย มีทั้งลุงป้าน้าอามาสอบนำร่องก่อนเพื่อดูเชิงข้อสอบ เอาไปติวลูกหลาน แล้วให้ลูกหลานสมัครสอบในครั้งถัดไป"

         นางอุทุมพรเผยว่า ปีนี้จะพิเศษคือ สทศ.ได้ลงทุน 8 แสนบาท สร้างระบบประกาศผลสอบผ่าน SMS เข้าโทรศัพท์มือถือนักเรียน โดยนักเรียนสามารถแสดงความจำนงจะรับทราบผลสอบด้วยวิธีดังกล่าวกับ สทศ. ค่าบริการ 3 บาท หักจากบัญชีผู้ใช้โทรศัพท์ แนวทางนี้จะคลายปัญหาการเข้าดูผลคะแนนสอบผ่านเว็บ สทศ.และเครือข่ายคราวละมากๆ จนเกิดเว็บล่มได้.



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...