ประชาสัมพันธ์

ผลงานโจ๋ไทยคัดแยกไข่มดแดง-แกะทุเรียน


โชว์สุดยอดไอเดียจากผลงานเยาวชนไทย อุปกรณ์แหย่ และคัดแยกไข่มดแดง-แกะทุเรียน
วันนี้ 16 ก.ค. ที่ ลานอเนกประสงค์ ท่าน้ำปากเกร็ด นายไพรัตน์ สกลพันธุ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พร้อมด้วย นายวิชัย บรรดาศักดิ์ นายกเทศมนตรีนครปากเกร็ด กล่าวถึง การจัดงานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ประจำปี 2553 ว่า การจัดงานในครั้งนี้ เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานการจัดการศึกษาของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งการศึกษาระดับปฐมวัย การศึกษาภาคบังคับ การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทสามัญศึกษา และประเภทอาชีวศึกษา ตลอดจนการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดแสดงเผยแพร่ให้ประชาชนโดยทั่วไปได้รับ ทราบถึงศักยภาพ และขีดความสามารถในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการจัดประชุมทางวิชาการ ระดมสมอง กำหนดทิศทางการจัดการศึกษาท้องถิ่น ทั้งการศึกษาระดับปฐมวัย การศึกษาภาคบังคับ การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทสามัญศึกษา และประเภทอาชีวศึกษา อันถือเป็นการกระตุ้นเน้นย้ำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตระหนักถึงการพัฒนา ศักยภาพของการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน ทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการจัดการศึกษาอีกด้วย

โดยกิจกรรมภายในโซนนิทรรศการมีรูปแบบการนำเสนอภายใต้แนวคิด “ฝันให้ใหญ่ ใช้ชีวิตให้เป็น” เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ และเข้าถึงระบบการศึกษาของไทย อาทิ นิทรรศการสื่อการเรียนการสอนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น การแสดงผลงานทางวิชาการในแต่ละภาค โซนนิทรรศการการศึกษาผ่านดาวเทียม อินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้เชื่อมโยงโลกของการศึกษาให้กว้างไกลทัด เทียมกันทั่วประเทศ และทั่วโลก
   
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมที่เป็นความภูมิใจของระบบการจัดการด้านการศึกษาท้อง ถิ่น ที่จะได้นำจะมาถ่ายทอด และสร้างสีสันต่าง ๆ ให้แก่การจัดงานในครั้งนี้อีกมากมาย อาทิ อุปกรณ์แหย่ และคัดแยกไข่มดแดง ผลงานการคิดค้นโดย 3 เยาวชนคนเก่ง น้ำฝน ไชยสุวรรณ, สุกัญญา พงษ์วัน, อดิเรก บุญนาม นักเรียนจากโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ อุปกรณ์ที่จะมาช่วยเก็บ และคัดแยกไข่มดแดง ทั้งมดนางพญา ไข่มดแดงขนาดใหญ่ และไข่มดแดงขนาดเล็ก อาชีพเสริมที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรในชุมชนต่าง ๆ ที่ทั้งมีประสิทธิภาพ ราคาถูก ประหยัดเวลา อีกทั้งยังช่วยป้องกันการถูกมดแดงกัดได้
   
สำหรับการประดิษฐ์อุปกรณ์แหย่ และคัดแยกไข่มดแดงนั้น ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายภายในท้องถิ่น ประกอบไปด้วย กระบวย ด้ามจับ และผ้าป้องกันมดแดง โดยกระบวย ทำมาจากพลาสติกใสเย็บเป็นกรวย แบ่งเป็นชั้นคัดแยก 3 ชั้น ใช้สำหรับแยกมดนางพญา ไข่มดแดงขนาดใหญ่ และส่วนของก้นกรวยแยกไข่มดแดงขนาดเล็ก ส่วนด้ามจับจะใช้ท่ออลูมิเนียม จำนวน 4 ท่อน มาสอดต่อกัน เพื่อให้สามารถปรับเลื่อนระดับความยาวขึ้น-ลงได้ ทำให้สามารถยืดขนาดความยาวของด้ามจับได้ตามต้องการ กรณีใช้เก็บไข่มดแดงบนต้นไม้ที่มีขนาดสูงมาก นอกจากนี้ ปลายด้ามจับยังมีปลายแหลม เพื่อความสะดวกในการแหย่รังมดแดง ส่วนผ้าป้องกันมดแดง เป็นผ้าขาวบางทาด้วยแป้งมันสำปะหลังที่ผสมกับกาว TOA และน้ำ แล้วโรยทับด้วยแป้งมันสำปะหลัง ก่อนนำไปผึ่งให้แห้ง แล้วนำมาพันติดกับด้ามจับ ซึ่งการนำแป้งมันสำปะหลังมาใช้ถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เพราะแป้งมันสำปะหลัง จะช่วยทำให้มดแดงไม่สามารถเดิน หรือไต่ขึ้นจากผ้ามากัด หรือทำร้ายเกษตรกรได้ จึงช่วยให้การคัดแยกไข่มดแดงทำได้ง่ายขึ้น

ส่วนอุปกรณ์แกะทุเรียนที่คิดค้นโดย มานิต ปานทอง, ประกายแก้ว สุนทมาตย์ และ สุธิตรา นิลภา นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เจ้าของความคิดผลิตเครื่องแกะทุเรียนขึ้น เพื่อเอาใจแฟนพันธุ์แท้ทุเรียน ด้วยอุปกรณ์ และหลักการง่าย ๆ เพียงแค่หมุนก็สามารถแกะทุเรียนไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ได้อย่างง่ายดาย และสามารถรับประทานได้ทันที ที่สำคัญสามารถประดิษฐ์ได้เองโดยวัสดุเหลือใช้ จึงเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาถูก และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ เน้นการนำวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่ในบ้านมาประกอบขึ้นเป็นเครื่องแกะทุเรียน ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถทำเองได้ ไม่เป็นอันตราย แต่สามารถช่วยให้การแกะเปลือกทุเรียนเป็นไปอย่างง่ายดาย ช่วยให้การแกะทุเรียนให้เป็นพูสวยงาม น่ารับประทาน ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
            
วิธีการนำวัสดุเหลือใช้มาทำเครื่องแกะทุเรียน เริ่มจากการออกแบบอุปกรณ์แกะทุเรียน 3 แบบ ทำภาพจำลองอุปกรณ์ แล้วจึงลงมือทำโครงสร้างหลักของตัวเครื่องด้วยเหล็กกลวง ก่อนนำแกนจับ และใบมีด อันได้แก่ ด้ามกดใบมีด ใบมีด และน็อต ประกอบเข้าด้วยกัน จนได้เป็นเครื่องแกะเปลือกทุเรียนที่ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์
   
โดยเครื่องแกะทุเรียนนี้ ถูกออกแบบให้สามารถแกะทุเรียนได้ทุกชนิด อย่างรวดเร็ว ซึ่งจากการทดสอบประสิทธิภาพการแกะทุเรียนโดยเครื่องแกะทุเรียน เปรียบเทียบกับการแกะทุเรียนด้วยมือ ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 ตัวอย่าง แบ่งเป็นชาย 5 คน หญิง 5 คน พบว่า การแกะทุเรียนด้วยเครื่องแกะทุเรียน ใช้เวลา 0.18-1.45 นาที ขณะที่ การแกะทุเรียนด้วยมือ จะใช้เวลา 1.00-2.20 นาที แสดงให้เห็นว่าเครื่องแกะทุเรียนสามารถอำนวยความสะดวก และลดเวลาที่ใช้ในการแกะทุเรียนแก่ผู้บริโภค หรือผู้จำหน่ายทุเรียนได้

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ อีกมากมายที่น่าสนใจ อาทิ นานาสาระความรู้จากการปาฐกถา และเสวนาจากคนต้นแบบ นิทรรศการทางวิชาการจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ การแสดงความสามารถของนักเรียน การประกวดแข่งขันประชันทักษะกว่า 62 รายการ รวมไปถึงลาน Wonderland แดนปัญญา ที่จัด และรวบรวมกิจกรรมเสริมทักษะไว้ให้เหล่าเด็ก ๆ ได้ร่วมเรียนรู้อย่างสนุกสนาน และสร้างสรรค์ ตลอดจนกิจกรรมที่น่าสนใจภายในงานอีกมากมาย ฯลฯ

จึงขอเชิญผู้สนใจสามารถเข้าชมงาน “มหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ประจำปี 2553” โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ระหว่างวันที่ 30 กรกฏาคม-1 สิงหาคม 2553 ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยในแต่ละวันจะมีไฮไลท์ที่มาสร้างสีสัน และเพิ่มองค์ความรู้ให้กับผู้ชมแตกต่างกันไป สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thailocaladmin.go.th/work/edulocal/ และ www.pakkretcity.go.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โทร.0-2241-9000 และเทศบาลนครปากเกร็ด โทร 0-2960-9704-14.

ที่มา 

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...