ประชาสัมพันธ์

มนต์เสน่ห์ เชียงคาน เมืองริมน้ำโขง

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คุณ Phitchaphat , คู่หูเดินทาง

          ... เหมือนเวลาจะหมุนช้าลง เมื่อมาเยือน เชียงคาน ...
          คงไม่ใช่คำกล่าวอ้างที่ผิดนัก เพราะ เชียงคาน อำเภอเล็ก ๆ ในจังหวัดเลย ยังคงอารยธรรมแห่งลุ่มน้ำโขง ที่ผสมผสานกับความทันสมัยของโลกปัจจุบันได้อย่างลงตัว ความเงียบสงบของเมือง ความน่ารักของผู้คน ที่ยังดำรงวิถีชีวิตแบบราบเรียบ และกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างแนบแน่นดีเยี่ยม รวมไปถึงทัศนียภาพพริมฝั่งโขงที่สวยงาม คงเป็นเอกลักษณ์สำคัญที่ทำให้นักเดินทางมักแวะเวียนไปต้องมนต์เสน่ห์ ณ เชียงคาน

          แต่่จริง ๆ แล้ว เชียงคาน ยังมีอะไรดี ๆ เด็ด ๆ รอให้คนที่ชื่นชอบวิถีชีวิตท้องถิ่น รักความงามของอดีตกาล ไปสัมผัสถึงความเป็น เชียงคาน ให้เห็นด้วยตา ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมก็พร้อมจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับ เชียงคาน ให้มากขึ้นอีก ถ้าใครพร้อมแล้วก็ตามเราเข้าไปเที่ยว เชียงคานเลย...

 เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน
 
เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน


          เชียงคาน เป็นอำเภอหนึ่งของ จังหวัดเลย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 940.45 ตารางกิโลเมตร แต่เดิม เชียงคาน ตั้งอยู่ที่ เมืองชะนะคาม ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก่อตั้งขึ้นประมาณพ.ศ. 1400 โดย ขุนคาม แห่งอาณาจักรล้านช้าง ต่อมา พ.ศ.2250 อาณาจักรล้านช้างแยกออกเป็นสองอาณาจักร คือ อาณาจักรหลวงพระบาง และ อาณาจักรเวียงจันทน์ โดยกำหนดอาณาเขตให้ดินแดนเหนือแม่น้ำเหืองขึ้นไปเป็นอาณาเขตหลวงพระบาง และใต้แม่น้ำเหืองลงมาเป็นอาณาเขตเวียงจันทน์ 

          ใน พ.ศ.2320 พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับ พระสุรสีห์ ยกทัพไปตีกรุงเวียงจันทน์ เมื่อรบชนะจึงได้อันเชิญ พระแก้วมรกต กลับมายังกรุงธนบุรี และทำการรวมอาณาจักรล้านช้างเข้ามาเป็นประเทศราชของไทย พร้อมกับกวาดต้อนพลเมืองมาอยู่เมืองปากเหือง 
เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

          จากนั้นสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์ คิดกอบกู้เอกราชเพื่อแยกเป็นอิสระจากไทย แต่ในที่สุด เจ้าอนุวงศ์ ถูกจับขังจนสิ้นชีวิต กองทัพไทยที่ยกมาปราบ เจ้าอนุวงศ์ ได้ยกทัพไปกวาดต้อนผู้คนจากฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงมายังเมืองปากเหืองมากขึ้น พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ พระอนุพินาศ (กิ่งต้นสกุลเครือทองศรี) เป็นเจ้าเมืองปากเหืองคนแรก พระราชทานชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองเชียงคาน 


          ครั้นถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกจีนฮ่อได้ยกทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ และได้เข้าปล้นสดมภ์เมืองเชียงคานเดิมที่อยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ชาวเชียงคานเดิมจึงอพยพผู้คนไปอยู่เมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) ครั้นต่อมาเห็นว่าชัยภูมิเมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) ไม่เหมาะสม ผู้คนจึงอพยพไปอยู่ที่ บ้านท่านาจันทร์ (ใกล้กับที่ตั้งของอำเภอเชียงคานปัจจุบัน) แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า เมืองใหม่เชียงคาน ต่อมาไทยได้เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส ทำให้เมืองปากเหืองตกเป็นของฝรั่งเศส คนไทยที่อยู่เมืองปากเหืองจึงอพยพมาอยู่ เมืองใหม่เชียงคาน หรือ อำเภอเชียงคาน ในปัจจุบันตราบเท่าทุกวันนี้





 

สำหรับแหล่งท่องเที่ยวเที่ยวแจ่ม ๆ ของ เชียงคาน ได้แก่ ...

           วัดศรีคุณเมือง ตั้งอยู่ที่ซอย 7 ถนนชายโขง ทางด้านเหนือของตลาดเชียงคาน มีกำแพงแก้วล้อมรอบตัวพระอุโบสถ วัดนี้เป็นแหล่งรวมงานศิลปะทั้งแบบล้านนาและล้านช้างดังจะเห็นได้จากโบสถ์ ซึ่งหลังคาลดหลั่นอย่างศิลปะล้านนา ศิลปวัตุที่สำคัญมีหลายชิ้น เช่น พระพุทธรูปไม้จำหลัก มีพระเกศาเป็นปุ่มแหลมเล็ก พระกรรณค่อนข้างแหลมและยาว ลงรักปิดทองปางประทานอภัยแบบล้านช้าง สันนิษฐานว่ามีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 24-25 นอกจากนี้ ในวัดยังมีธรรมาสน์ไม้แกะสลักลงรักปิดทองทุกด้านที่พนักหลังมียอดคล้ายปราสาท ด้านหน้าโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังอยู่เต็มหน้าบัน ภาพทั้งหมดเป็นภาพนิทานชาดกชุดพระเจ้าสิบชาติซึ่งวาดขึ้นใหม่แทนของเดิม

           วัดท่าแขก เป็นวัดเก่าแก่โบราณ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ห่างจากอำเภอเชียงคาน 2 กิโลเมตร ก่อนถึงหมู่บ้านน้อย และแก่งคุดคู้ ปัจจุบันเป็น วัดธรรมยุติ ภายในโบสถ์มีพระพุทธรูป 3 องค์ สกัดจากหินแกรนิตทั้งก้อน หน้าตักกว้าง 2 ศอก เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์มาก




           พระพุทธบาทภูควายเงิน ตั้งอยู่ที่บ้านอุมุง ตำบลบุฮม ตามเส้นทางสายเชียงคาน-ปากชม ระยะทาง 6 กิโลเมตร ถึงหมู่บ้านผาแบ่นมีทางแยกเข้าบ้านอุมุง 3 กิโลเมตร จะถึงทางขึ้นเขาเป็นทางลูกรังระยะทาง 1 กิโลเมตร เป็นรอยพระพุทธบาทที่ตั้งอยู่บนหินลับพร้า (หินลับมีด) ประชาชนเคารพนับถือมาก จะมีงานเทศกาลประจำปีในวันเพ็ญเดือน 3 หรือเดือน 4 ของทุกปี

เชียงคาน

เชียงคาน

           พระใหญ่ภูคกงิ้ว เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระพุทธนวมินทรมงคลลีลา ทวินคราภิรักษ์ ตั้งอยู่ที่ภูคกงิ้ว บ้านท่าดีหมี ตำบลปากตม ประดิษฐานอยู่บนเนินเขาบริเวณปากลำน้ำเหืองจรดกับแม่น้ำโขง เป็นพระพุทธรูปปางลีลาประทานพร หล่อด้วยไฟเบอร์ผสมเรซิ่นสีทองทั้งองค์ สูง 19 เมตรตัวฐานกว้าง 7.2 เมตร สร้างขึ้นโดยกองทัพภาคที่ 2 และประชาชน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 6 รอบ เมื่อ พ.ศ.2542 และในมหามงคลแห่งราชพิธิราชาภิเษก ครบ 50 ปี พ.ศ. 2543 สร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 บริเวณโดยรอบสามารถชมทัศนียภาพที่สวยงามของแม่น้ำโขง และประเทศลาวได้ การเดินทาง จากตัวเมืองเลยทางหลวงหมายเลข 201 (เลย-เชียงคาน) ไป 47 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายบริเวณสามแยกตรงไปจนถึงบ้านท่าดีหมี่ แล้วเลี้ยวขวาที่โรงเรียนบ้านท่าดีหมี่ ไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร

           แก่งคุดคู้ เป็นแก่งหินใหญ่ขวางอยู่กลางลำน้ำโขง ห่างจากตัวอำเภอเชียงคานประมาณ 3 กิโลเมตร ประกอบด้วย หินก้อนใหญ่ ๆ เป็นจำนวนมาก จากการที่หินเหล่านี้อยู่ใต้น้ำเป็นเวลานาน ทำให้หินเหล่านี้มีสีสัน ไปต่าง ๆ ตัวแก่งกว้างใหญ่เกือบจรดสองฝั่งแม่น้ำโขง มีกระแสน้ำไหลผ่านไปเพียงช่องแคบ ๆ ใกล้ฝั่งไทยเท่านั้นเอง ซึ่งกระแสน้ำเชี่ยวกราก เวลาที่เหมาะจะชมแก่งคุดคู้ที่สุดคือ เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นเวลาที่น้ำแห้ง มองเห็นเกาะแก่งชัดเจน บริเวณแก่งมีร้านอาหารจำหน่ายมากมาย

เชียงคาน

เชียงคาน

           จุดชมวิวภูทอก ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองเชียงคาน เป็นเพียงภูเขาลูกเล็ก ๆ แต่ ภูทอก แห่งนี้ก็มีเสน่ห์ที่เป็นจุดชมวิว ชมความงามของแม่น้ำโขง เมืองสานะคาม และแก่งคุดคู้ได้อย่างชัดเจน และเสน่ห์ยิ่งกว่านั้นของ ภูทอก ในฤดูฝนและฤดูหนาวจะถูกปกคลุมไปด้วยผ้าห่มหมอก หากได้มองจากยอดภูทอกจะเห็นเป็นทะเลหมอกได้แบบรอบทิศเลยทีเดียว การเดินทาง สามารถขับรถขึ้นไปได้ เริ่มจากซอยข้างโรงพยาบาลเชียงคาน ตรงไปเรื่อย ๆ จนถึงทางสามแยกตีนภูทอก แล้วเลี้ยวซ้ายตามถนนตัดใหม่ จะเป็นทางเข้าสู่เส้นทางขึ้นยอดภูทอก หากไม่ทราบเส้นทางที่แน่ชัดก็สามารถสอบถามคนเชียงคานได้เลย


เชียงคาน

เชียงคาน 

          ปัจจุบันแม้ว่าบ้านเรือนอาคารต่าง ๆ ภายใน เชียงคาน จะแปลเปลี่ยนดัดแปลงมาทำ โรงแรม เกสต์เฮ้าส์ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ แกลอรี่ ร้านขายของที่ระลึก ร้านขายโปสต์การ์ด ฯลฯ แต่ความเป็นเชียงคาน ก็ยังคงอยู่เฉกเช่นวันวาน วัฒธรรมการตักบาตรข้าวเหนียวยามเช้าแบบเมืองหลวงพระบาง ที่เชียงคาน ก็มีให้เห็นเหมือนเคย ในช่วงเวลาประมาณ 06.00 – 06.30 น. จะมีผู้คนมารอใส่บาตรข้าวเหนียวยามเช้าเป็นประจำทุกวัน 

          
ในส่วนของที่พัก ในเมือง เชียงคาน มีให้เลือกมากมาย หลายแบบหลายสไตล์ ราคาคละเคล้ากันไป เริ่มตั้งแต่ประมาณ 300 บาทต่อคืน ไปจนถึงประมาณ 3,000 บาท ใครที่ต้องการดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่ 

          สมแล้วกับคำขวัญที่ว่า...เชียงคาน เมืองคนงาม ข้าวหลามยาว มะพร้าวแก้ว เพริศแพร้วเกาะแกง แหล่งวัฒนธรรม น้อมนำศูนย์ศิลปาชีพ

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน

เชียงคาน
 




การเดินทาง


          รถยนต์

          เส้นทางที่ 1 : จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านตัวเมืองสระบุรี ตรงเข้าทางหลวงหมายเลข 21 ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 203 ผ่านอำเภอหล่มสัก หล่มเก่า เข้าเขตจังหวัดเลยที่อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูเรือ ถึงตัวเมืองเลยใช้เวลาเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง

          เส้นทางที่ 2 : จากสระบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 มิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ถึงจังหวัดขอนแก่น แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 12 ผ่านอำเภอชุมแพ แล้วใช้เส้นทางหมายเลข 201 เข้าเขตจังหวัดเลยที่อำเภอภูกระดึง อำเภอวังสะพุง ถึงตัวเมืองเลยได้เช่นเดียวกัน

          รถไฟ

          จังหวัดเลยไม่มีสถานีรถไฟ นักท่องเที่ยวต้องเดินทางไปลงที่สถานีอุดรธานี และต่อรถโดยสารประจำทางไป จังหวัดเลยได้ สอบถามตารางรถไฟได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690, 0 2233 7010, 0 2223 7020 หรือ สถานีอุดรธานี โทร. 0 4222 2061 www.railway.co.th
          
          รถโดยสารประจำทาง

          บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารประจำทางวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-เลย ทุกวัน ทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง รายละเอียดสอบถามที่สถานีขนส่ง หมอชิต 2 โทร.0 2936 2852-66 www.transport.co.th
 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
  และ เชียงคาน.com  

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...