ประชาสัมพันธ์

เด็ก ปวช.ร้อง เรียนต่อพยาบาลต้องจบ ม.6 สายวิทย์ เท่านั้น

       เด็ก ปวช.ปี 3 สาขาธุรกิจสถานพยาบาล ร.ร.พณิชยการสุโขทัย บุกร้อง “ชินวรณ์” ช่วยหลังประกาศ TQF พยาบาลกำหนดคุณสมบัติเด็กต้องจบ ม.6 สายวิทย์ เท่านั้น ถึงจะสอบเรียนต่อพยาบาลได้ ส่งผลเด็กวุฒิเทียบเท่าหมดสิทธิ์สอบเข้า วอน ศธ.ผ่อนผันให้เด็กที่เข้าเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 51 – 53 สอบได้เช่นเดิม พร้อมให้หลักเกณฑ์ TQF ใช้ปีการศึกษาหน้า
      
       วันนี้ (13 ก.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น.ที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) นายวินัย คู่พันธวี ผู้อำนวยการ ร.ร.พณิชยการสุโขทัย พร้อมด้วยอาจารย์และนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 สาขาธุรกิจสถานพยาบาล เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รมว.กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อเรียกร้องให้ ศธ.คืนสิทธิ์ให้นักเรียนสาขาธุรกิจพยาบาลในการสอบเข้าศึกษาต่อในสาขาพยาบาล ศาสตร์ ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดย นายวินัย กล่าวว่า ร.ร.พณิชยการสุโขทัย มีนักเรียนสาขาธุรกิจพยาบาลรวมทุกชั้นปี จำนวนกว่า 700 คน ซึ่งเดิมนักเรียนที่เรียนสาขาดังกล่าวสามารถสอบเข้า สาขาพยาบาลศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้ แต่หลังจากที่ ศธ.ได้ออกประกาศ ศธ.เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ.2552 หรือ TQF สาขาพยาบาลศาสตร์ ซึ่งมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่สอบเข้าสาขาพยาบาลศาสตร์ระดับอุดมศึกษาจะ ต้องเป็นนักเรียนที่จบชั้น ม.6 สายวิทย์-คณิต เท่านั้น จากเดิมที่ให้สิทธิ์ผู้ที่จบ ม.6 หรือเทียบเท่า ส่งผลให้นักเรียนสาขาธุรกิจสถานพยาบาล ซึ่งเดิมใช้สิทธิ์เทียบเท่าในการสอบเข้าสาขาพยาบาลศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนบางแห่งได้ ก็ไม่มีสิทธิ์สอบเข้า เพราะถือว่าขาดคุณสมบัติ ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้ ศธ.คืนสิทธิ์เด็กกลุ่มนี้ ให้มีโอกาสเข้าสอบส่วนจะได้หรือไม่นั้นก็ให้อยู่ที่ความสามารถของเด็ก
      
       “ศธ. ออก TQF สาขาพยาบาลศาสตร์ ปลายปี 2552 โดยที่โรงเรียนเปิดรับนักเรียนสาขานี้ไปแล้ว เพราะไม่รู้ว่ามีประกาศดังกล่าว ซึ่งแม้แต่สำนักบริหารงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน (สช.) และสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่เคยเปิดโอกาสให้เด็กสาขานี้สอบเข้า ก็ยังไม่ทราบ จนเปิดรับสมัครและเรียกเก็บเงินไปแล้ว ถึงทราบว่ามีประกาศฉบับนี้ จึงได้คืนเงินให้เด็กในภายหลัง ดังนั้น จึงขอให้ รมว.ศธ.ผ่อนผันให้เด็กที่เข้าเรียนสาขาธุรกิจสถานพยาบาลตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 – 2553 มีโอกาสที่จะสอบเข้าสาขาพยาบาลศาสตร์ได้เช่นเดิม แล้วจึงใช้หลักเกณฑ์ตามประกาศ TQF ในปีการศึกษา 2554 เพื่อไม่ให้เด็กกลุ่มนี้เสียสิทธิ์” ผอ.ร.ร.พณิชยการสุโขทัย กล่าว
      
       นักเรียนสาขาธุรกิจพยาบาล ชั้นปีที่ 3 รายหนึ่ง กล่าวว่า ตนตั้งใจที่จะเป็นพยาบาล จึงมาเรียนในสาขาธุรกิจสถานพยาบาล โดยที่ไม่ทราบว่า มีประกาศ TQF ดังกล่าว ดังนั้น จึงอยากขอแค่โอกาสในการได้เข้าสอบ ส่วนจะได้หรือไม่ก็ยอมรับ ทั้งนี้ ยังไม่มีแผนสำรองว่าหากไม่สามารถสอบเข้าได้ จะไปเรียนสาขาใด เพราะสาขาพยาบาลศาสตร์ และสาขาที่ใกล้เคียง เช่น เทคนิคการแพทย์ ก็ไม่มีสิทธิ์สอบเข้าเช่นกัน ก็คงต้องไปเรียนสาขาสาธารณสุขแทน ซึ่งหาก ศธ.ไม่ช่วยเหลือก็จะส่งผลให้เด็กที่เรียนสาขาธุรกิจสถานพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ของ ร.ร.พณิชยการสุโขทัย จำนวนประมาณ 200 คน รวมถึงนักเรียนสาขาด้านพยาบาล ในระดับ ปวช.ของโรงเรียนเอกชนอื่นๆ ขาดสิทธิ์สอบเข้าสาขาพยาบาลศาสตร์ทั้งหมด
      
       ด้านนายชินวรณ์ กล่าวว่า ตนได้หารือเรื่องนี้ ในที่ประชุมผู้บริหารองค์กรหลักแล้ว โดยตนได้มอบนโยบาย 2 เรื่อง คือ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณา ดูว่าการออกหลักเกณฑ์ตามประกาศ TQF ดังกล่าว ว่าส่งผลกระทบต่อการดำเนินการตามหลักสูตรธุรกิจสถานพยาบาลหรือหลักสูตรอื่น ที่ต้องขอความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือ สภาวิชาชีพ ซึ่งจะต้องไปดูอย่างครบวงจร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลักษณะนี้อีก เนื่องจากขณะนี้มีปัญหาในสาขาเทคโนโลยี ที่ร้องเรียนเข้ามาด้วย สำหรับกรณีของร.ร.พณิชยการสุโขทัย ตนได้มอบหมายให้ สช.และ สกอ.ไปพิจารณาหาทางผ่อนผันหลักเกณฑ์ให้เด็กกลุ่มนี้ได้หรือไม่ หรือจะต้องทำความร่วมมือเฉพาะรายสำหรับนักเรียนที่จบไปแล้วให้สามารถเข้าทำ งานในสถานประกอบการได้ ซึ่งความจริงเดิมก็สามารถทำได้ แต่ติดขัดที่ประกาศดังกล่าว ก็ต้องหาทางเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ โดยให้ชี้แจงข้อมูลในการประชุมองค์กรหลักครั้งหน้า ในวันที่ 20 ก.ค.นี้

Credit  Manager

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...