ประชาสัมพันธ์

คณะบริหารธุรกิจ มทร.ธัญบุรี

คณะบริหารธุรกิจ มทร.ธัญบุรี
ร่วมสนับสนุน โครงการ “หยุด” ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี


“400 ไปรษณียบัตร ในกล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีชมพู เขียนความคิดเห็นที่แสดงถึง “ไม่อยากเห็นความรุนแรงเกิดขึ้นกับผู้หญิงและเด็ก” ซึ่งเขียนโดยนักศึกษา เจ้าหน้าที่ คณาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ภายในโครงการ “หยุด” ทางคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เล่งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง ไทยทีวีสีช่อง 3 จัดขึ้น คณบดีคณะบริหารธุรกิจ รศ.ดร.ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร กล่าวว่า เนื่องจากสภาพปัญหาของสังคมไทยมีปัญหาความรุนแรงเกิดขึ้นกับผู้หญิงและเด็ก คณะบริหารธุรกิจ นักศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง ซึ่งไม่อยากให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น และเดือนพฤศจิกายนเป็นเดือนแห่ง “การยุติความรุนแรง”

ทางคณะต้องการที่จะรณรงค์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อเด็กและสตรี ให้นักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยได้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมกับรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง ปลูกจิตสำนึกของนักศึกษาในการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างระมัดระวังมีสติมากขึ้น เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น

น้ำ” นายพงศ์ภัทร รอดอารี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 นายกสโมสรนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ เล่าว่า โครงการดังกล่าวมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการทุกระดับชั้น ทุกสาขาวิชา มีประมาณ 300 คน สำหรับตัวกิจกรรมประกอบด้วย 1. การเขียนไปรษณียบัตรแสดงความคิดเห็น 2. การแสดงร้องลิเกเพื่อยุติความรุนแรง 3. เดินรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ภายในมหาวิทยาลัยและโดยบริเวณมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ในบริเวณมหาวิทยาลัย “การเดินรณรงค์เป็นการกระตุ้นให้ความรู้แบบหนึ่งที่สร้างความสนใจให้กับผู้ที่ได้พบเห็น นักศึกษาจะเป็นสื่อกลางที่ดี ในการช่วยรณรงค์ยุติความรุนแรง”

ปิง” นายศักดิ์ดา อาทิตย์มณีรัตน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน เล่าว่า โครงการที่จัดขึ้น ถือว่าเป็นโครงการที่ดี ซึ่งตนเองเป็นอีกหนึ่งคน ที่เมื่อได้ดูข่าวตามหนังสือพิมพ์แล้วรู้สึกไม่ดีที่มีข่าวทำร้ายร่างกายผู้หญิงและเด็ก ซึ่งเป็นเพศแม่ที่ควรให้เกียรติ “การใช้กำลังความคิดในการแก้ปัญหา ไม่ใช้กำลังทางร่างกายในการตัดสินปัญหาที่เกิดขึ้น” ทุกคนมีความคิดมีวุฒิภาวะ ก่อนที่จะทำอะไรลงไปควรที่จะคิดก่อนว่าสร้างความเดือดร้อน หรือว่าผลส่งผลเสียอย่างไรกับคนที่ถูกกระทำ

แป้ง” น.ส. สาวิตรี แซ่ตัน นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ เล่าว่า ในฐานะที่เป็นผู้หญิง ดีใจที่องค์กรหรือว่าหน่วยงานต่างๆ เห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงและเด็ก สมัยนี้ผู้หญิงสามารถทำอะไรหลายๆอย่างได้เหมือนกับผู้ชาย ความเท่าเทียมกันของเพศหญิงและเพศชาย เพศชายเป็นเพศที่แข็งแรงกว่าเพศหญิง ก็ไม่ควรที่จะเอารัดเอาเปรียบ แต่ผู้หญิงถึงแม้ว่าจะเป็นผู้หญิง ก็ควรแสดงกิริยาท่าทางที่เหมาะสม “การแต่งกายก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาอย่างหนึ่ง ดังนั้นผู้หญิงควรที่จะแต่งกายมิดชิด ถูกกาละเทศะ”

เช่นเดียวกับ 3 หนุ่ม “ตั้ม” นายอนาวิล วงศกรพัชร “หว้า” นายเมธา จันทร์แดง “ป่อ” นายอัฏฐพร เผงสวัสดิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ เล่าว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กและสตรี มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ อยากที่จะให้ทางรัฐบาลมีมาตราการที่เคร่งครัด หรือว่ากฏหมาย

“หยุด” โครงการกระตุ้นคนในสังคมให้ยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กและสตรี นอกจากเด็กและสตรี ความรุนแรงทุกรูปแบบในสังคมไทยมีควรที่จะเกิดขึ้น ทุกคนในสังคมไทยควรมีจิตสำนึกคิดถึงผลที่ตามมาจากการกระทำที่ได้ลงมือหรือว่าตัดสินใจเพียงแค่อารมณ์ชั่ววูบ คิดก่อนทำ ไม่ใช่ทำก่อนคิดนะจ๊ะ

รศ.ดร.ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร คณบดีคณะบริหารธุรกิจคณบดีคณะบริหารธุรกิจ
“น้ำ” นายพงศ์ภัทร รอดอารี“ปิง” นายศักดิ์ดา อาทิตย์มณีรัตน์
“แป้ง” น.ส. สาวิตรี แซ่ตัน“ตั้ม” นายอนาวิล วงศกรพัชร, “หว้า” นายเมธา จันทร์แดง และ “ป่อ” นายอัฏฐพร เผงสวัสดิ์


Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...