ประชาสัมพันธ์

ให้สิทธิ ม.6 ปี 49-50 ใช้โอเน็ต 5 กลุ่มสาระ

Pic_54340
ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล

ทปอ.เปิดโอกาสลุ้นใหม่ 25% รอผลสอบก่อนตัดสินลดค่าสมัคร GAT-PAT และให้ ศ.ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหัวหน้าทีมวิจัยระบบแอดมิชชั่น ...

ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยว่า ทปอ.ได้ หารือข้อร้องเรียนของนักเรียนที่จบปีการศึกษา 2549-2550 ซึ่งเป็นปีที่จัดสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต 5 กลุ่มสาระ ซึ่งบางคนต้องการสอบคัดเลือกใหม่เพื่อเปลี่ยนสาขา แต่เนื่องจากตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 มีการจัดสอบโอเน็ต 8 กลุ่มสาระ และกำหนดคุณสมบัติผู้สอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบแอดมิชชั่น ต้องมีคะแนนโอเน็ต 8 กลุ่มสาระ ทำให้นักเรียนกลุ่มดังกล่าวขาดโอกาส จึงขอให้ ทปอ.ให้โอกาสกับเด็กที่จบปีการศึกษา 2549-2550 ที่ต้องการสอบแอดมิชชั่นใหม่ ซึ่ง ทปอ.ได้ พิจารณาแล้วมีมติที่จะเปิดโอกาสให้เด็กกลุ่มนี้สามารถใช้คะแนนโอเน็ต 5 กลุ่มสาระ มาใช้ในการสอบแอดมิชชั่นได้ แต่เพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ ก็จะให้นำไปใช้ในการคิดคะแนนได้ 25%เท่านั้น เพราะคะแนนโอเน็ตมีเพียง 5 กลุ่มสาระ ขณะที่ผู้ที่มีคะแนนโอเน็ต 8 กลุ่มสาระ จะนำไปใช้ในการคิดคะแนนได้ 30% โดยสามารถสมัครแอดมิชชั่นใหม่ได้ในปีการศึกษา 2553 นี้ ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้กับนักเรียนมากที่สุด เพราะ  ทปอ.รับฟังทุกข้อเรียกร้อง

ประธาน ทปอ.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังมีมติให้ ศ.ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหัวหน้าทีมวิจัยระบบแอดมิชชั่น ซึ่งใช้ คะแนนแบบทดสอบความถนัดทั่วไป หรือ GAT และแบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT ปีการศึกษา 2552-2554 ว่ามีความแม่นยำในการคัดเลือกคนเข้าเรียนมหาวิทยาลัยมากน้อยเพียงใด เพื่อใช้ในการพัฒนาข้อสอบต่อไป ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายในการสอบ GAT-PAT ซึ่งเก็บค่าสมัครวิชาละ 200บาทนั้น สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้นำเสนอ  ทปอ.แล้ว พบว่าในการสอบครั้งที่ 1 ค่าใช้จ่ายการสอบเฉลี่ยคนละ 206 บาท/คน/วิชา ครั้งที่ 2 เฉลี่ย 202 บาท/คน/วิชา ครั้งที่ 3 เฉลี่ย 190 บาท/คน/วิชา หากจำนวนผู้สอบมากต้นทุนก็จะลดลง ที่ประชุมจึงมีมติให้สรุปผลการสอบในเดือน มี.ค.53 ก่อนแล้วจึงพิจารณาอีกครั้งว่าจะปรับลดหรือไม่ต่อไป.





ที่มา  Thairath

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...