ประชาสัมพันธ์

ม.บูรพา รับตรง ปวส. 1,190 คน


การสอบคัดเลือกบุคคล ที่จบ ปวส. หรือเทียบเท่า เข้าศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา2553

ปฏิทินการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรต่อเนื่อง ประจำปีการศึกษา 2553

รายการ

สถานที่

วัน เดือน ปี

เวลา

ดาวน์โหลดใบสมัคร

หรือขอรับใบสมัคร

ได้ที่กองบริการการศึกษา

เว็บไซต์ กองบริการการศึกษา

http://service.buu.ac.th

23 กันยายน2552 – 17มกราคม 2553

08.30.เป็นต้นไป

การสมัครทางไปรษณีย์ ส่งใบสมัครพร้อมเอกสารหลักฐานมาที่กองบริการการศึกษา 1 ตุลาคม2552 – 8มกราคม 2553

-

การสมัครด้วยตนเอง ชั้น 1 ห้องโถง อาคาร ภปร. 16-17มกราคม 2553 09.00–16.00.
ประกาศแผนผังที่นั่งสอบ ณ อาคาร ภปร. ชั้น 1

http://service.buu.ac.th

22 มกราคม2553

09.00.เป็นต้นไป

สอบข้อเขียน มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี 6 กุมภาพันธ์2553 09.00.เป็นต้นไป
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบข้อเขียนและอันดับสำรอง ณ อาคาร ภปร. ชั้น 1

http://service.buu.ac.th

13 กุมภาพันธ์2553 09.00.
สอบสัมภาษณ์ ณ มหาวิทยาลัยบูรพา 6 มีนาคม2553 09.00 – 12.00.
ประกาศผลขั้นสุดท้ายและอันดับสำรอง ณ อาคาร ภปร. ชั้น 1

http://service.buu.ac.th

16 มีนาคม255309.00.
รายงานตัวนิสิต มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี 20 มีนาคม2553

09.00 – 16.00.

ประกาศรายชื่ออันดับสำรอง ให้มารายงานตัวและปฐมนิเทศ ณ อาคาร ภปร. ชั้น 1http://service.buu.ac.th ในวันที่ 21 มีนาคม 2553 09.00 – 12.00 .

หมายเหตุ

1. ปฏิทินการสมัครสอบคัดเลือกอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

2. มหาวิทยาลัยจะประกาศรายชื่อผู้ติดอันดับสำรองเพื่อรายงานตัวในวันที่ 21 มีนาคม 2553เวลา 09.00 เป็นต้นไป และให้ผู้ที่ติดอันดับสำรองมารายงานตัวในวันที่ 21 มีนาคม 2553 เวลา09.00-12.00 . ณ งานทะเบียนและสถิตินิสิต อาคาร ภปร. ชั้น 1 มหาวิทยาลัยบูรพา และปฐมนิเทศนิสิตใหม่ เวลา 09.00 – 12.00 .

มหาวิทยาลัยบูรพา ประกาศสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรต่อเนื่อง

ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.. 2545มหาวิทยาลัยบูรพา จะรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2553 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. คุณวุฒิและคุณสมบัติของผู้สมัคร

1.1 คุณสมบัติทั่วไป

1.1.1 ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจและ / หรือโรคสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

1.1.2 ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือพ้นสภาพการเป็นนิสิตหรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใดมาก่อน

1.1.3 ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาล เว้นแต่ในกรณีโทษนั้นเกิดจากความผิดอันกระทำโดยประมาทหรือความผิดอันเป็นลหุโทษ

1.2 คุณสมบัติเฉพาะสาขา

1.2.1 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต

1.2.1.1 สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์

- สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญา ปริญญาตรีหรือสูงกว่าทุกสาขาวิชา

1.2.1.2 สาขาวิชาธุรกิจพาณิชยนาวี

- สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค(ปวท.) หรืออนุปริญญา ทางด้านการบัญชี การตลาด การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ธุรกิจพาณิชยนาวี คอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในสาขาอื่นที่มีประสบการณ์ด้านพาณิชยนาวี

1.2.2 หลักสูตรบัญชีบัณฑิต

1.2.2.1 สาขาวิชาการบัญชี ภาคพิเศษ ( เรียนวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 13.00-20.00 .)

- สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) วิชาเอกการบัญชี

1.2.2.2 สาขาวิชาการบัญชี ภาคพิเศษ ( เรียนวันเสาร์-อาทิตย์)

- สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) วิชาเอกการบัญชี

1.2.3 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

1.2.3.1 สาขาวิชาการบริหารทั่วไป

- สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค(ปวท.) อนุปริญญาหรือเทียบเท่าขึ้นไป ทุกสาขาวิชา

1.2.4 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

เรียนวันศุกร์ เวลา 17.00 . เป็นต้นไป และเรียนวันเสาร์ วันอาทิตย์ เวลา 08.00 . เป็นต้นไป

1.2.4.1 สาขาวิชาภูมิศาสตร์

- สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าทุกสาขาวิชา

1.2.4.2 สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ

- สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าทุกสาขาวิชา

1.2.5 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต

1.2.5.1 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

ภาคปกติ เรียนวันจันทร์ วันศุกร์ เวลา 08.00 – 17.00 .

ภาคพิเศษ เรียนวันศุกร์ เวลา 17.00 – 22.00 .

เรียนวันเสาร์ วันอาทิตย์ เวลา 08.00 – 22.00 .

- สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค(ปวท.) สาขาไฟฟ้า สาขาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ สาขาคอมพิวเตอร์ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจหรืออนุปริญญา หรือเทียบเท่าในสาขาข้างต้น หรือปริญญาตรีที่ผ่านการเรียนคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 6 หน่วยกิต และเคยเรียนวิชาหลักการเขียนโปรแกรม

มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศ สระแก้ว

1.2.6 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต

1.2.6.1 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศสระแก้ว)

- สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค(ปวท.) หรืออนุปริญญาทุกสาขาวิชา และต้องมีความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์

1.2.7 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต

1.2.7.1 สาขาวิชาการตลาด (มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศ สระแก้ว)

- สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค(ปวท.) หรืออนุปริญญาทุกสาขาวิชา

1.2.8 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

1.2.8.1 สาขาวิชาการบริหารทั่วไป (มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศ สระแก้ว)

- สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค(ปวท.) หรืออนุปริญญาทุกสาขาวิชา

หากปรากฏภายหลังว่าผู้สมัครสอบขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือคุณสมบัติเฉพาะในการศึกษาสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งอยู่ก่อนทำการสมัครสอบคัดเลือก จะถูกตัดสิทธิ์ในการสอบคัดเลือกครั้งนี้ และแม้จะได้รับการรายงานตัวเข้าศึกษาแล้วก็ตาม จะต้องถูกถอนสภาพจากการเป็นนิสิตทันที หรือแม้สำเร็จการศึกษาแล้วก็อาจถูกเพิกถอนปริญญาบัตรได้

2. ขั้นตอนการสมัครสอบ

2.1 การสมัครทางไปรษณีย์

2.1.1 ดาวน์โหลดใบสมัครมหาวิทยาลัยบูรพา ที่เว็บไซต์ กองบริการการศึกษาhttp://service.buu.ac.th หรือ ขอรับใบสมัครได้ที่ อาคาร ภปร. ห้อง 108 มหาวิทยาลัยบูรพาระหว่างวันที่ 23 กันยายน 2552 – 17 มกราคม 2553

2.1.2 ศึกษาระเบียบการ และจัดเตรียมหลักฐานประกอบการสมัคร (ดูรายละเอียดในข้อ 4)พร้อมทั้งกรอกข้อความต่าง ๆ ในใบสมัครให้ครบทุกส่วน

2.1.3 ส่งใบสมัครพร้อมหลักฐานประกอบการสมัครตามข้อ 4 มาที่ กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา 169 .ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131 รวมทั้งเงินค่าสมัครสอบจำนวน 500 บาท โดยสั่งจ่ายธนาณัติ ปท.. มหาวิทยาลัยบูรพา ในนาม ผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131ภายในวันที่ 8 มกราคม 2553 (ถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ)

2.1.4 ผู้สมัครสามารถสมัครได้เพียง 1 สาขาวิชา

2.1.5 ผู้สมัครต้องเขียนชื่อ ที่อยู่ รหัสไปรษณีย์ และรหัสสาขาในใบสมัครให้ชัดเจน มหาวิทยาลัยจะจัดส่งบัตรเลขที่นั่งสอบคัดเลือก (มบ.2) มายังผู้สมัครสอบได้สะดวก

หมายเหตุ - เอกสารทุกอย่างให้ส่งเป็น EMS ด่วนพิเศษ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสูญหาย

- หากผู้สมัครส่งหลักฐานการสมัครไม่ครบถ้วน มหาวิทยาลัยบูรพาจะไม่พิจารณาคัดเลือก

- เงินค่าสมัครและหลักฐานต่าง ๆ มหาวิทยาลัยจะไม่คืนให้ไม่ว่ากรณีใด ๆ

- หากทำการสมัครสอบคัดเลือกแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสาขาวิชาที่สมัครได้

2.2 การสมัครด้วยตนเอง

2.2.1 ดาวน์โหลดใบสมัครมหาวิทยาลัยบูรพา ที่เว็บไซต์ กองบริการการศึกษาhttp://service.buu.ac.th หรือ ขอรับใบสมัครได้ที่ อาคาร ภปร. ห้อง 108 มหาวิทยาลัยบูรพาระหว่างวันที่ 23 กันยายน 2552 – 17 มกราคม 2553

2.2.2 ศึกษาระเบียบการ และจัดเตรียมหลักฐานประกอบการสมัคร (ดูรายละเอียดในข้อ 4)พร้อมทั้งกรอกข้อความต่าง ๆ ในใบสมัครให้ครบทุกส่วน

2.2.3 สมัครด้วยตนเอง พร้อมหลักฐานประกอบการสมัครตามข้อ 4 ระหว่างวันที่ 16 - 17มกราคม 2553 ณ อาคาร ภปร. ห้องโถง ชั้น 1 มหาวิทยาลัยบูรพา

2.2.4 การแต่งกายเพื่อการสมัครสอบคัดเลือกให้แต่งกายชุดนักศึกษาหรือชุดสุภาพ ห้ามใส่เสื้อยืดกางเกงยีนส์และสวมรองเท้าแตะ

หมายเหตุ - เงินค่าสมัครและหลักฐานต่าง ๆ มหาวิทยาลัยจะไม่คืนให้ไม่ว่ากรณีใด ๆ หากตรวจสอบพบว่าผู้สมัครส่งหลักฐานการสมัครไม่ครบถ้วน มหาวิทยาลัยบูรพาจะไม่พิจารณารับสมัคร

- หากทำการสมัครสอบคัดเลือกแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสาขาวิชาที่สมัครได้

เมื่อมหาวิทยาลัยได้รับใบสมัครพร้อมหลักฐานประกอบการสมัครแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบหลักฐานออกบัตรเลขที่นั่งสอบคัดเลือก (มบ.2) ซึ่งถือว่าเป็นใบเสร็จรับเงินค่าสมัครสอบด้วย ผู้สมัครจะต้องเก็บบัตรเลขที่นั่งสอบคัดเลือก (มบ.2) ไว้เป็นหลักฐาน ถ้าหากบัตรเลขที่นั่งสอบคัดเลือกสูญหายจะหมดสิทธิ์ในการสอบ

3. ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ

3.1 การสมัครสอบคัดเลือกด้วยตนเอง ค่าสมัครสอบ 500 บาท

3.2 การสมัครสอบคัดเลือกทางไปรษณีย์ ค่าสมัครสอบ 500 บาท

4. หลักฐานประกอบการสมัครสอบ

ผู้สมัครสอบจะต้องเตรียมหลักฐานต่าง ๆ มาให้พร้อมในวันรับสมัคร ดังต่อไปนี้

4.1 ประเภทการสมัครทางไปรษณีย์

4.1.1 ใบสมัครสอบของมหาวิทยาลัย

4.1.2 ใบแสดงคุณวุฒิ เช่น ใบสุทธิ ประกาศนียบัตร ใบแจ้งวุฒิหรือใบรับรองการศึกษาภาคเรียนสุดท้ายที่รับรองสำเนาถูกต้อง

4.1.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่รับรองสำเนาถูกต้อง

4.1.4 รูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ เป็นภาพสี และถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6เดือนนับถึงวันสมัคร ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 4 รูป (ติดในใบสมัคร 1 รูป และอีก 3 รูป แนบมาเพื่อติดในบัตรเลขที่นั่งสอบหลังรูปถ่ายให้เขียนชื่อ นามสกุลด้วย)

4.1.5 ธนาณัติจำนวน 500 บาท โดยสั่งจ่ายธนาณัติ ปท.. มหาวิทยาลัยบูรพา ในนาม

ผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี20131

4.1.6 สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล หลักฐานการสมรส (ถ้ามี)

4.2 ประเภทการสมัครด้วยตนเอง

4.2.1 ใบสมัครสอบของมหาวิทยาลัย

4.2.2 ใบแสดงคุณวุฒิ เช่น ใบสุทธิ ประกาศนียบัตร ใบแจ้งวุฒิหรือใบรับรองการศึกษาภาคเรียนสุดท้ายฉบับจริงพร้อมสำเนาถ่ายรับรองสำเนาถูกต้อง

4.2.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่รับรองสำเนาถูกต้องพร้อมฉบับจริง

4.2.4 รูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ เป็นภาพสี และถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6เดือนนับถึงวันสมัคร ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 4 รูป (ติดในใบสมัคร 1 รูป และอีก 3 รูป แนบมาเพื่อติดในบัตรเลขที่นั่งสอบหลังรูปถ่ายให้เขียนชื่อ นามสกุลด้วย)

4.2.5 สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล หลักฐานการสมรส (ถ้ามี)

ในกรณีที่ผู้สมัครสอบใช้ใบรับรองการศึกษาภาคเรียนสุดท้ายเป็นใบแสดงคุณวุฒินั้น ถ้าหากสอบคัดเลือกได้จะต้องนำหลักฐานแสดงคุณวุฒิที่สำเร็จการศึกษาก่อนวันที่ 20 มีนาคม 2552 มารายงานตัวเท่านั้น มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ในการรับรายงานตัวเป็นนิสิต

** ในวันสอบให้ผู้เข้าสอบแสดงบัตรเลขที่นั่งสอบ (มบ.2) และบัตรประจำตัวประชาชน ต่อกรรมการคุมสอบ ** มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิ์เข้าสอบ

5. จำนวนรับเข้าศึกษาและการสอบคัดเลือก รวม 1,190 คน

หมายเหตุ มหาวิทยาลัยจะประกาศรายชื่อผู้ติดอันดับสำรองเพื่อรายงานตัวในวันที่ 21 มีนาคม2553 เวลา 09.00 เป็นต้นไป และให้ผู้ที่ติดอันดับสำรองมารายงานตัวในวันที่ 21 มีนาคม 2553เวลา 09.00-12.00 . ณ งานทะเบียนและสถิตินิสิต อาคาร ภปร. ชั้น 1 มหาวิทยาลัยบูรพา และปฐมนิเทศนิสิตใหม่ เวลา 09.00 – 12.00 .

6. การประกาศผลการสอบคัดเลือก

6.1 ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านข้อเขียนและอันดับสำรอง มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 09.00 . ณ อาคาร ภปร. มหาวิทยาลัยบูรพา และhttp://service.buu.ac.th

6.2 สอบสัมภาษณ์ วันที่ 6 มีนาคม 2553 เวลา 09.00 . - 12.00 . ณ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

6.3 ประกาศผลขั้นสุดท้ายและอันดับสำรอง

วันที่ 16 มีนาคม 2553 เวลา 09.00 . ณ อาคาร ภปร. มหาวิทยาลัยบูรพา และhttp://service.buu.ac.th

7. เอกสารที่นำมาในวันสอบสัมภาษณ์

7.1 ใบแสดงคุณวุฒิฉบับจริง

7.2 บัตรประชาชนฉบับจริง

7.3 บัตรเลขที่นั่งสอบคัดเลือก (มบ.2)

8. การรายงานตัว

8.1 ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนิสิต จะต้องนำหลักฐานต่าง ๆ ไปรายงานตัวต่องานทะเบียนและสถิตินิสิตเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นนิสิต และชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามระเบียบของมหาวิทยาลัยบูรพา ในวันที่ 20 มีนาคม 2553 เวลา 09.00 เป็นต้นไป น. ณ มหาวิทยาลัยบูรพา

8.2 ถ้าผู้ที่ได้รับคัดเลือกไม่มารายงานตัวและชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ภายในวันและเวลาที่กำหนดในข้อ 8.1 จะถือว่าผู้นั้นสละสิทธิ์ในการเข้าเป็นนิสิต

8.3 ผู้ที่ติดในอันดับสำรอง จะประกาศให้มารายงานตัววันที่ 21 มีนาคม 2553 เวลา 09.00เป็นต้นไป ให้มารายงานตัวในวันที่ 21 มีนาคม 2553 เวลา 09.00-12.00 . ณ งานทะเบียนและสถิตินิสิต อาคาร ภปร.ชั้น 1 มหาวิทยาลัยบูรพา และปฐมนิเทศนิสิตใหม่ เวลา 09.00 – 12.00 .

9. หลักฐานที่ต้องนำไปยื่นในวันรายงานตัว

9.1 ใบแสดงคุณวุฒิที่แสดงว่าสำเร็จการศึกษาก่อนวันที่ 20 มีนาคม 2553 พร้อมสำเนาถ่ายรับรองสำเนาถูกต้อง

9.2 บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการ พร้อมสำเนาถ่ายรับรองสำเนาถูกต้อง

9.3 ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน พร้อมสำเนาถ่ายรับรองสำเนาถูกต้อง

9.4 ใบรับรองแพทย์

9.5 รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป (สำหรับติดบัตร) สวมเสื้อเชิ้ตขาวหรือชุดสากลหรือเครื่องแบบข้าราชการ(เป็นรูปสี)

9.6 หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล (ถ้ามี) ฉบับจริง พร้อมสำเนาถ่ายรับรองสำเนาถูกต้อง

รายละเอียดของวิชาที่จะสอบคัดเลือก

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองบริการการศึกษา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา เลขที่ 169 ถนนลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131โทรศัพท์ : 0-3810-2709, 0-3810-2710, 0-3839-0520 โทรสาร : 0-3874-5794

http://service.buu.ac.th , www.buu.ac.th

Blogger Comment
Facebook Comment

:ambivalent:
:angry:
:confused:
:content:
:cool:
:crazy:
:cry:
:embarrassed:
:footinmouth:
:frown:
:gasp:
:grin:
:heart:
:hearteyes:
:innocent:
:kiss:
:laughing:
:minifrown:
:minismile:
:moneymouth:
:naughty:
:nerd:
:notamused:
:sarcastic:
:sealed:
:sick:
:slant:
:smile:
:thumbsdown:
:thumbsup:
:wink:
:yuck:
:yum:

loading...

Facebook

นิยม

บทความ

loading...